[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
๑. ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านกรวด
หรือ กศน.อำเภอบ้านกรวด
๒. ที่ตั้ง/การติดต่อเลขที่ ๗๗ หมู่ ๒ ถนนมะลิกรอง ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ ๓๑๑๘๐ โทรศัพท์ ๐-๔๔๖๗-๙๐๐๖โทรสาร ๐-๔๔๖๗๙-๐๐๖
Website http://๒๐๒.๑๔๓.๑๗๒.๓๗/๒๖๒๕
๓.สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์
(สำนักงาน กศน.จังหวัดบุรีรัมย์) สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
๔. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
๔.๑ ประวัติสถานศึกษา กศน. อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่๒๗สิงหาคมพ.ศ. ๒๕๓๖ในชื่อเดิมเรียกว่า ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านกรวด เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการโดยในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๗มีที่ทำการอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอบ้านกรวดกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๘ได้ย้ายออกมาเช่าตึกแถวใกล้เคียงที่ว่าการอำเภอบ้านกรวดเป็นที่ทำงาน ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๘ได้รับงบประมาณในการสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านกรวดบนที่ดินราชพัสดุ จำนวนเนื้อที่ ๒ไร่๑ งาน ๑๒ตารางวา กศน.อำเภอบ้านกรวดจึงได้ย้ายมาที่ทำการใหม่ โดยใช้อาคารร่วมกับห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านกรวด ต่อมาคณะครูและผู้อำนวยการศูนย์ฯ กศน.อำเภอบ้านกรวดได้จัดทำผ้าป่าสามัคคีร่วมกับนักศึกษา ประชาชน และทุกภาคส่วนราชการเพื่อรวมเงินมาจัดทำการก่อสร้างอาคารที่ทำการเป็นเอกเทศแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา กศน.อำเภอบ้านกรวด ดังนี้
๔.๒ ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
๑ นายธนานุวัฒน์ พงษ์จำนงค์ หัวหน้าศูนย์ฯ ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
๒ นายพิสิทธิ์ บุญมาก ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ๒๕๓๘ - ๒๕๔๘
๓ นายสุริยันต์ เรืองมนตรี ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐
๔ นายพิสิทธิ์ บุญมาก ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ๒๕๕๐ - ๒๕๕๓
๕ นางสุนันท์ สิทธิสาท รักษาการในตำแหน่ง
อำนวยการศูนย์ฯ ๑พ.ย.๒๕๕๓ - ๘ส.ค.๒๕๕๔
๖ นายสมพร หลงพิมาย ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ๙ส.ค. ๒๕๕๔ - ๑๗ ก.พ.๕๗
๗.นายวัชรินทร์  เขียวอ่อน ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ๑๘ ก.พ. ๕๗- ปัจจุบัน

๔.๓ อาณาเขต กศน.อำเภอบ้านกรวด มีอาณาเขตที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ มีแนวเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นระยะทางประมาณ ๒๖กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ ๖๖กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือติดต่อกับตำบลเขาคอกและตำบลหนองบอน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภออำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปราสาทและอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองแวงและตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

๔.๔ ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ มีนาคม – มิถุนายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กรกฎาคม – ตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

๕. สภาพชุมชนของอำเภอบ้านกรวด
๕.๑ คำขวัญของอำเภอบ้านกรวด เมืองโลหะกรรมลือเลื่อง เครื่องเคลือบโบราณ ตำนานแหล่งหินติด ทิวทัศน์ช่องโอบกงามตา เขื่อนเมฆาเย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก
๕.๒ ด้านการปกครอง พื้นที่การปกครองของอำเภอบ้านกรวด แบ่งได้ดังนี้
๑) ตำบลบ้านกรวด มี ๑๖ หมู่บ้าน
๒) ตำบลปราสาท มี ๑๓ หมู่บ้าน
๓) ตำบลบึงเจริญ มี ๑๓ หมู่บ้าน
๔) ตำบลหนองไม้งาม มี ๑๕ หมู่บ้าน
๕) ตำบลจันทบเพชร มี ๑๒ หมู่บ้าน
๖) ตำบลสายตะกู มี ๑๖ หมู่บ้าน
๗) ตำบลหินลาด มี ๙ หมู่บ้าน
๘) ตำบลโนนเจริญ มี ๑๑ หมู่บ้าน
๙) ตำบลเขาดินเหนือ มี ๑๐ หมู่บ้าน
การปกครองมี ๙ ตำบล ๑๑๕ หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล ๕ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล ๔ แห่ง มีประชากรเป็นผู้ชายจำนวน ๓๘,๑๐๒ คน เป็นผู้หญิงจำนวน ๓๘,๐๑๗ คน มีประชากรรวมทั้งสิ้นจำนวน ๗๖,๑๑๙คน

๕.๓ ด้านเศรษฐกิจ
๕.๓.๑ ด้านการเกษตร
๑) ยางพารา มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ๔๐,๗๘๔ไร่ เปิดกรีดประมาณ ๓๕,๕๐๐ไร่ปริมาณผลผลิต/ไร่ ๒.๕กก./วัน ราคาเฉลี่ยยางแผ่น ๑๕๐บาท/กก. ถ้าเกษตรกรกรีดยาง ๑๕ไร่ ภายในหนึ่งเดือนสามารถกรีดได้ ๑๕วัน เฉลี่ยคำนวณได้ ๒.๕กก.×๑๕๐บาท ×๑๕ไร่× ๑๕วัน= ๘๔,๓๗๕บาท/เดือน
๒) ข้าวมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ๑๐๙,๔๔๑ไร่ ปริมาณผลผลิต/ไร่ ๔๐๐กก. ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔เฉลี่ยตันละ ๑๔,๐๐๐บาท
๓) อ้อย มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ๑๔,๙๑๔ไร่ ปริมาณผลผลิต/ไร่ ๙,๐๐๐กก. รายได้เฉลี่ย/ไร่/ปี ๙,๐๐๐บาท (ราคา ๑,๐๐๐บาท/ตัน)
๔) มันสำปะหลังมีพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ๑๑,๘๐๖ไร่ ปริมาณผลผลิตต่อไร่ ๔ตัน (ราคาตันละ ๒,๐๐๐บาท ถ้าเกษตรกรมีมันสันปะหลังอยู่ ๑ไร่ จะมีรายได้เฉลี่ย/ปี ๘,๐๐๐บาท)
๔.๔.๓.๒ ด้านการเงินการธนาคาร
มีธนาคารที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ๒ แห่ง ได้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด และมีตู้ให้บริการ ATM ทั้งหมด ๖แห่ง

๕.๔ ด้านสังคม
๑) ด้านการศึกษาอำเภอบ้านกรวด มีการศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอบ้านกรวด ดังนี้
โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๔๗ แห่ง
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง
ศูนย์อบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๑๕ แห่ง
สถานศึกษาเอกชน จำนวน ๑ แห่ง
๒) ด้านสาธารณสุข
โรงพยาบาลขนาด ๖๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
สถานีอนามัย จำนวน ๑๐ แห่ง
สถานบริการสาธารณสุขชุมชน จำนวน ๒ แห่ง
สถานพยาบาลเอกชน จำนวน ๔ แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน ๔ แห่ง
๓) ด้านศาสนา
วัด จำนวน ๓๖ แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน ๓๙ แห่ง
๕) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย
อำเภอบ้านกรวด เป็นพื้นที่ชายแดนที่เคยมีปัญหาด้านความปลอดภัยความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน มีปัญหาด้านการโจรกรรม โดยเฉพาะการโจรกรรมข้ามแดน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โค และกระบือ ในช่วงหน้าแล้ง แต่ปัจจุบันลดน้อยลงโดยมีหน่วยงานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย คือ
๑) สถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านกรวด มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๙๗ นาย
๒) สถานีตำรวจภูธรตำบล ๓ แห่ง มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๑๐๗ นาย
๓) กองร้อยทหารพราน ๒ กองร้อย และ ๑ ชุดควบคุม
๔) กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑๖ จำนวน ๒ กองร้อย
๕) กองร้อยอาสารักษาดินแดนที่ ๕ อำเภอบ้านกรวด มีสมาชิก ๒๔ นาย
๖) กลุ่มประชาชนที่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - กัมพูชา (ปชด.) จำนวน ๑๙ หมู่บ้าน
๖) ช่องทางออกไปสู่ประเทศกัมพูชาได้ มีการเดินเท้าและรถยนต์ จำนวน ๑๐ ช่อง ได้แก่
๑) ช่องจันแดง บ้านสายโท ๑๒ ใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบลสายตะกู
๒) ช่องจันกะฮอม บ้านสายโท ๑๑ ใต้ หมู่ที่ ๓ ตำบลสายตะกู
๓) ช่องสายตะกู บ้านสายโท ๖ ใต้ หมู่ที่ ๕ ตำบลจันทบเพชร
๔) ช่องไบแบก บ้านสายโท ๖ ใต้ หมู่ที่ ๕ ตำบลจันทบเพชร
๕) ช่องจันทบเพชร บ้านสายโท ๖ ใต้ หมู่ที่ ๕ ตำบลจันทบเพชร
๖) ช่องโอบก บ้านสายโท ๑ ใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบลปราสาท
๗) ช่องเมฆา บ้านสายตรีพัฒนา ๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลบึงเจริญ
๘) ช่องกระโดน บ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองไม้งาม
๙) ช่องโอมาลู บ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองไม้งาม
๑๐) ช่องห้วยสูบ บ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองไม้งาม
ช่องทางสำคัญในพื้นที่อำเภอบ้านกรวดคือ ช่องสายตะกู ที่สามารถติดต่อกับประเทศกัมพูชาได้สะดวก ในปี ๒๕๓๕ได้มีการขอเปิดเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อนำเข้าไม้ซุง เป็นช่องทางที่สำคัญ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวดประมาณ ๑๕กิโลเมตร ช่องทางดังกล่าวสามารถเดินผ่านไปจังหวัดอุดรมีชัย เข้าจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ระยะทางประมาณ ๑๗๐กิโลเมตร ช่องสายตะกูในพื้นที่ตำบลจันทบเพชร เป็นช่องที่สำคัญการติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ตรงกันข้ามกับช่องจุ๊บโกกี อำเภออำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ซึ่งในปัจจุบันเป็นจุดผ่อนปรนการค้าเริ่มตั้งแต่ วันที่ ๑๔สิงหาคม ๒๕๕๔เป็นต้นมา
โดยมีสินค้าที่นำเข้าขายเช่น อาหารป่า ข้าวโพด ปลาแห้ง และบุหรี่ ส่วนสินค้าไทยนำไปขายให้กับกัมพูชาได้แก่ น้ำตาล สินค้าอุปโภคบริโภค

๕.๕ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
อำเภอบ้านกรวดมีสถานที่สำคัญ ที่น่าสนใจและแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
๑) แหล่งหินตัดตั้งอยู่ที่บ้านสายตรี ๓ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลปราสาท ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวดประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เป็นลานหินทรายขนาดกว้างประมาณ ๔,๖๐๐ ไร่ และที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากร ๘๑๐ไร่ ลักษณะเป็นหินทรายเนื้อละเอียด ปรากฏรอยตอกสกัดเนื้อหินเรียงกันเป็นแถว
หินบางก้อนถูกสกัดเป็นร่องขาดออกจากกัน บางก้อนถูกตัดและแยกออกมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมวางอยู่ทั่วบริเวณ จึงสันนิษฐานว่า ขอมโบราณได้ตัดหินจากแหล่งหินตัดนี้เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ
๒) เตาเผาตาเจียนตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย หมู่ที่ ๑ ตำบลหินลาด ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด ประมาณ ๕กิโลเมตร เป็นเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาของขอมโบราณ ตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖
๓) เตาเผาสวายตั้งอยู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ ๙ตำบลโนนเจริญ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด ประมาณ ๗กิโลเมตร จัดเป็นเตาเผาประเภท SLABKILN ก่อด้วยดินเหนียว มีช่องระบายความร้อนในแนวนอนหรือเฉียงขึ้น ใช้ผลิตภาชนะต่างๆ เช่น ไห พานแว่นฟ้า กระปุก คนโท สันนิษฐานว่าเตาเผาแห่งนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๗
๔) ช่องโอบก ตั้งอยู่บ้านสายโท ๑ ใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบลปราสาท ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวดประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ติดเขต ราชอาณาจักรกัมพูชา เดิมเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างทหารไทยกับกองกำลังต่างชาติ ปัจจุบันเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ ซึ่งมองเห็นพื้นที่ของ อำเภออำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา
๕) ปราสาทละลมทมตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาดินเหนือ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด
ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร ลักษณะเป็นปรางค์หินขนาดเล็ก
๖) ปราสาทไบแบกตั้งอยู่บ้านสายโท ๕ ใต้ หมู่ที่ ๓ ตำบลจันทบเพชร ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวดประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ลักษณะเป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐบนฐานศิลาแลง ยอดปรางค์เป็นหินทรายเสากรอบประตูทับหลังเป็นศิลาทราย กำแพงสร้างด้วยอิฐคล้ายทราย ภาพสลักบนทับหลังเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ลักษณะศิลปกรรมแบบปาปวนของกัมพูชา สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖
๗) เขื่อนเมฆา ตั้งอยู่ที่บ้านสายตรี ๔ ใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบลบึงเจริญ ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง อ่างน้ำและเขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างหุบเขา เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจชมความงามของประตูเปิด - ปิดน้ำ และมีคลองส่งน้ำจากเขื่อนไปสู่พื้นที่การเกษตรของราษฎร
๘) แหล่งวัตถุโบราณวัดป่าพระสบาย ตั้งอยู่ที่บ้านบึงเก่า หมู่ที่ ๒ ตำบลบึงเจริญ ระยะทางห่างจาก ที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ซึ่งขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องปั้นดินเผา อาวุธโบราณ เครื่องใช้ในครัวเรือน บางชิ้นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี
๙) ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวดตั้งอยู่ ณ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุ อายุประมาณหนึ่งพันปี มีรูปแบบหลากหลาย เช่น คนโท ไห ถ้วยชาม กระปุก กระเป๋า และพบเครื่องเคลือบดินเผาที่ทำเป็นเครื่องก่อสร้างพวกเชิงชายทาสีตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายลงในเนื้อภาชนะแล้วเคลือบ ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล สีขาว สีขาวอมเขียว และสีน้ำแตงกวา ประมาณว่าอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่๑๕ - ๑๖
๑๐) ผึ้งร้อยรังบึงเจริญเป็นผึ้งตามธรรมชาติที่ได้มารวมตัวกันเป็นกลุ่มประมาณร้อยรัง ณ ต้นไทรบ้านสายตรีพัฒนาหมู่ที่ ๑๐ ตำบลบึงเจริญ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าสนใจและน่าติดตามเยี่ยมชม ปรากฏการณ์ดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่ประมาณปี๒๕๓๘โดยในช่วงแรกจะมีผึ้งปีละประมาณ ๒ - ๓ รัง และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน โดยผึ้งจะมีพฤติกรรมดังนี้ เริ่มมารวมตัวกันเป็นรัง ๆ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตระเวนดูดเกสรดอกไม้นานาชนิด และสะสมเป็นน้ำผึ้ง ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ดอกไม้จะเริ่มโรย ชาวบ้านจะมีประเพณีเก็บน้ำผึ้งปีละ ๒ ครั้ง คือในช่วงต้นเดือนมีนาคมและในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ (เดือนเมษายน) ของทุกปี โดยจะเก็บน้ำผึ้งในตอนกลางคืน ตั้งแต่เวลา ๒๐.๐๐น. เป็นต้นไป เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อราษฎรที่อาศัยอยู่ละแวกนั้น สำหรับในเดือนเมษายน วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๕จะเป็นการเก็บน้ำผึ้งครั้งใหญ่ สามารถบรรจุน้ำผึ้งได้ประมาณ ๑๒๐ ขวด และคนไทยเชื้อสายจีนถือว่าน้ำผึ้งเดือน ๕ เป็นสุดยอดน้ำผึ้งแห่งปี จะนำไปผสมเป็นยาและอาหารเลิศรสหรือเป็นของฝากแก่คนที่รัก ต่อจากนั้นประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ของทุกปี ผึ้งจะเริ่มอพยพไปที่อื่น และประมาณเดือนธันวาคม กลุ่มผึ้งจะกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง
ณ ต้นไทร เพื่อสร้างรังและออกดูดเกสรดอกไม้สะสมเป็นน้ำผึ้งอีกครั้ง ผึ้งร้อยรังบึงเจริญ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ ๘กิโลเมตร ไปตามเส้นทางอำเภอบ้านกรวด - อำเภอละหานทราย มีผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งของกลุ่มกองทุนผึ้งร้อยรังจำหน่ายในราคา ๕๐, ๙๕ และ ๑๘๐ บาท
๑๑) ประเพณีประจำของอำเภอบ้านกรวด ได้แก่ งานเครื่องเคลือบพันปี ประเพณีบ้านกรวด ซึ่งจะจัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนของทุกปี จัดติดต่อมาแล้วทั้งหมด ๑๗ ครั้ง โดย มีการจัดนิทรรศการต่างๆ เช่น เครื่องเคลือบโบราณ การประกวดขบวนแห่เครื่องเคลือบจำลอง การประกวดธิดาเครื่องเคลือบ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย และประเพณีของตำบลต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
อาชีพกลุ่มอาชีพเด่นที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านทำชื่อเสียงให้รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ การทำขนมไทย การทำทอเสื่อกก การทำไม้กวาดเงิน การเลี้ยงกบ การทำไม้กวาดจากดอกหญ้า การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเกษตรผสมผสาน เป็นต้น ส่วนอาชีพที่ทำรายได้มากที่สุด คือ การทำสวนยางพารา รองลงมาการทำนาข้าว และการทำไร่มันสำปะหลัง

๗. สิ่งอำนวยความสะดวก
มีอาคาร กศน.อำเภอ มีจำนวน ๕หลัง อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอ ๑ หลัง หอประชุมกศน. จำนวน ๑ หลัง อาคารเรียน กศน.ตำบล ๙ แห่งๆละ ๑ หลัง (ได้รับอนุเคราะห์จาก เทศบาล/อบต. / กองทุนหมู่บ้าน) และมีทรัพยากรอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการที่จำเป็น เช่น
๑. คอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๑ เครื่อง
ใช้ในการบริหารงานทั่วไป จำนวน ๒ เครื่อง
ใช้ในระบบ IT นักศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓ เครื่อง
ใช้ในระบบงานห้องสมุด จำนวน ๒ เครื่อง
ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต จำนวน ๑๑ เครื่อง
ใช้ในงานพัสดุ จำนวน ๑ เครื่อง
ใช้ในงานการเงิน จำนวน ๑ เครื่อง
ใช้ในงานแผนงานและโครงการ จำนวน ๑ เครื่อง
๒.ปริ้นเตอร์HP LaserjetP ๑๑๐๒ จำนวน ๑ เครื่อง
๓. ปริ้นเตอร์HP LaserjetP ๑๐๐๕ จำนวน ๒ เครื่อง
๔.ปริ้นเตอร์HP LaserjetP ๑๐๐๖ จำนวน ๑ เครื่อง
๕.ปริ้นเตอร์cannon Pixma MP ๒๘๗ จำนวน ๑ เครื่อง
๖. ปริ้นเตอร์cannon IP ๒๗๗๐ จำนวน ๓ เครื่อง
๗. ปริ้นเตอร์Fuji Xerox Docuprint C ๑๑๑๐ จำนวน ๑ เครื่อง
๘. เครื่องพิมพ์ Laser printer จำนวน ๒ เครื่อง
๙. เครื่องเล่นดีวีดี/วีดีโอ ซีดี PHILIPS จำนวน ๑๕ เครื่อง
๑๐. โทรศัพท์ จำนวน ๑๒ เครื่อง
๑๑. โทรสาร จำนวน ๑ เครื่อง
๑๒. กล้องถ่ายรูปดิจิตตอล จำนวน ๑ เครื่อง
๑๓. กล้องถ่ายวีดีโอ จำนวน ๑ เครื่อง
๑๔. ชุดเครื่องขยายเสียง จำนวน ๒ เครื่อง
๑๕. เครื่องรับสัญญาณ จำนวน ๑๒ เครื่อง
๑๖. โทรทัศน์ ๒๑ นิ้ว จำนวน ๑๒ เครื่อง
๑๗. โต๊ะพับขนาด จำนวน ๑๑ ตัว
๑๘. โต๊ะประชุม จำนวน ๑๑ ตัว
๑๙. เก้าอี้เบาะนวม จำนวน ๕๐ ตัว
๒๐. เก้าอี้พลาสติก จำนวน ๑๔๙ ตัว
๒๑. พัดลมขนาดใหญ่ จำนวน ๔ ตัว
๒๒. พัดลมติดเพดาน จำนวน ๑๑ ตัว
๒๓. เต้นท์ผ้าใบ จำนวน ๑๑ หลัง
๒๔. ตู้ไม้ใส่หนังสือ จำนวน ๗๘ หลัง
๒๕. สื่อสิ่งพิมพ์, CD – ROM, แบบเรียน (กศน.) เป็นต้น



เข้าชม : 1412
 
 
 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านกรวด
ถนนมะลิกรอง ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์  โทรศัพท์ 0-4467-9006 โทรสาร  0-4467-9006  
           kalopekob
@hotmail.com          bankruat@buriram.nfe.go.th
 
 
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.03