Best Practice
การปฏิบัติที่เป็นเลิศ
แหล่งเรียนรู้ “กุมภลักษณ์หินหลุม 150 ล้านปี”
กศน.ตำบลสำโรงใหม่
แนะนำแหล่งเรียนรู้
เกิดจากปรากฏการณ์และกระบวนการทางธรรมชาติ ตั้งอยู่บนลานหินทรายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือหมู่บ้านสันติสุข ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ขนาดของหลุมมีรูปทรงแปลกตา มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หาชมได้ยากและเป็นแหล่งหินหลุมกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวน 16 หลุม ปากหลุมมีความกว้างตั้งแต่ 40 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร มีความลึกตั้งแต่ 2.5 เมตร ถึง 14 เมตร แต่ละหลุมสร้างโครงเหล็กกั้นไว้ เพื่อมิให้เกิดอันตรายขณะเดินชมบริเวณปากหลุมรอบๆ ภายในหลุมมีน้ำใสสะอาดนักโบราณคดีสันนิฐานว่าเมื่อประมาณ 150 ล้านปี บริเวณนี้เป็นแม่น้ำมาก่อน เมื่อเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนตัวทำให้ทางแม่น้ำยกตัวสูงขึ้น ชาวชุมชนมีความเชื่อว่าน้ำที่อยู่ในหินหลุมเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ใช้นำไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้อาบและดื่มเพื่อความเป็นสิริมงคลบริเวณโดยรอบของแหล่งหินหลุมรายล้อมด้วยแมกไม้นานาชนิดร่มรื่น อากาศปลอดโปร่งเย็นสบายมองเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบ แหล่งหินหลุมโบราณละหานทรายจึงเป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติของบุรีรัมย์บริเวณโดยรอบของแหล่งหินหลุมรายล้อมด้วยแมกไม้นานาชนิดร่มรื่น อากาศปลอดโปร่งเย็นสบายมองเห็นวิวทิวทัศน์โดยรอบแหล่งหินหลุมโบราณละหานทรายจึงเป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติของบุรีรัมย์
หลักการสัณนิษฐานการเกิดกุมภลักษณ์ที่บ้านสันติสุข
หินหลุมหรือกุมภลักษณ์ (หลุมลักษณะเหมือนหม้อ) เป็นแหล่งหินหลุมที่เกิดตามธรรมชาติมีลักษณะเป็นหลุม ณ จุดๆ เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พบไม่น้อยกว่า 16 หลุม มีหลายขนาดตั้งแต่กว้างปากหลุม 40 เซนติเมตร – 3 เมตร ความลึกตั้งแต่ 2.5 เมตร – 14 เมตร โดยค้นพบจากชาวบ้านที่บ้านโคกใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2502 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บนลานหินทรายทิศตะวันออกเฉียงใต้ บ้านสันติสุข ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 1 ก.ม.
ข้อสันนิษฐาน เป็นแม่น้ำโบราณเมื่อประมาณ 150 ล้านปี ชาวบ้านเชื่อว่าน้ำเกิดจากหินหลุมเป็นน้ำสักสิทธิ์นำไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ
การพัฒนา หากได้รับงบประมาณสนับสนุนขุดลอกหน้าดินสามารถเป็นแหล่งท่องเทียวที่สวยงามที่สุดเป็นปรากฎการณ์อย่างหนึ่งจากธรรมชาติของอำเภอละหานทราย
ที่ตั้ง บ้านสันติสุข หมู่ที่ 10 ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
การเดินทางมาท่องเที่ยว แหล่งหินหลุมกุมภลักษณ์
ห่างจากกรุงเทพประมาณ 332 กม.ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพประมาณ 4 ชั่วโมง 28 นาที
ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 108 กม.ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 1 ชั่วโมง 32 นาที
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 14 กม.ใช้เวลาเดินทางตัวอำเภอประมาณ 20 นาที
“หินหลุม” แหล่งกุมภลักษณ์
กุมภลักษณ์บ้านสันติสุข (หลุมหิน) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บ้านสันติสุข ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างหมู่บ้าน 1,550 เมตร
ความเป็นมา
ย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปี บริเวณนี้เป็นป่าดงดิบ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ เป็นลานหินทราย ก้อนหินทรายมีพื้นที่ 17 ไร่ 2 งาน ที่เป็นลานหินบางแห่งดินใต้หินจะไหลไปสู่ที่ต่ำทำให้เกิดโพรงใต้ดินสามารถเข้าไปอาศัยหลบฝน และเป็นที่พักของพี่น้องชาวไทย “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ในอดีตซึ่งเคยเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้ระหว่าง พ. ศ. 2518 – 2525 เมื่อประมาณ พ.ศ. 2525 - 2526 บริเวณนี้ถือเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน
มีพระธุดงค์มาพักอยู่อาศัยจำพรรษาทำให้ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงมาทำบุญขอน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากบ่อกุมภลักษณ์ไปดื่มรักษาโรคตามความเชื่อถือ
ในปี พ. ศ.2526 มีชาวบ้านเข้าใจว่ามีทองฝังอยู่ในหลุมกุมภลักษณ์จึงพากันขุดเอาดินขึ้นจากหลุม กุมภลักษณ์ ประมาณ 10 หลุม แต่ก็ไม่พบสิ่งใดในหลุม นอกจากดินและหินเท่านั้น
ใน ปี พ.ศ. 2544 สำนักงานศึกษาธิการอำเภอละหานทราย โดยมีนายสุรพงษ์ พิลาวุธ เป็นศึกษาธิการ อำเภอ นางเยาวมาลย์ บำรุงรส นักวิชาการศึกษา ร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำเภอละหานทราย โดยมี นายวิเชียร สำเร็จกิจ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ด.ต.เถลิงชัย ใสสดศรี และคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ ร่วมกันสำรวจแหล่งโบราณสถานและแหล่งท่อง เที่ยวของอำเภอ จึงได้รู้ว่าบริเวณกุมภลักษณ์ (หลุมหิน) แห่งนี้มีความสำคัญจึงสมควรจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว
มีนาคม พ.ศ. 2546 อำเภอละหานทราย นำโดย นายเฉลิมพล พลวัน นายอำเภอละหานทรายพร้อมด้วยคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอ เทศบาลตำบลละหานทราย และองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล ได้ร่วมกันพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดย ให้ชาวบ้านมาร่วมกันพัฒนา ตำบลละ 1 วัน มีการค้นหาหลุมกุมภลักษณ์ที่มีดินทับถมมาก่อน ขุดเอาดินออกปราบวัชพืชปรับภูมิทัศน์ และนายแก้ว สิงห์ทองได้จัดหาพันธุ์ไม้ธรรมชาติ มาให้ชาวบ้านร่วมกับนักศึกษาของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอละหานทราย ปลูกประมาณ 1,500 ต้น
สภาวัฒนธรรมอำเภอละหานทราย ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงใหม่ ได้เข้ามาดูแลความสะอาดอยู่เป็นประจำ องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงใหม่ได้ตั้งงบประมาณมาจัดทำถนนลูกรัง จากถนนใหญ่เข้าไปในบริเวณแหล่งกุมภลักษณ์ และทำป้ายชี้ทางไปยังแหล่งกุมภลักษณ์อีกหลายป้าย จนทำให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาเข้าไปชมเป็นประจำสำนัก งานสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ ได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดสรรงบประมาณให้สำนักงานสภาวัฒนธรรมอำเภอละหานทราย ทำโครงการสืบค้นข้อมูลการเกิดกุมภลักษณ์ในอำเภอละหานทราย โดยทำการขุดลอกดินออกจากหลุมกุมภลักษณ์เพื่อให้เกิดความสวยงามจำนวน 3 หลุม เพื่อให้รู้ว่ามีดิน – หิน ชนิดใดบ้างที่ตกหล่นลงไปในหลุมเหล่านี้ และพิมพ์เอกสารเผยแพร่ข้อมูลความรู้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป ขณะนี้คณะผู้ได้รับแต่งตั้งในการขุดได้ดำเนินการขุดเสร็จเรียบร้อยตามที่ได้ รับมอบหมายแล้ว
แหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ลักษณะกุมภลักษณ์หินหลุม 150 ล้านปี ในรูปแบบต่างๆ ณ บ้านสันติสุข
กุมภลักษณ์ คืออะไร
กุมภลักษณ์ โดยทั่วไปหายถึงหลุมที่เกิดบริเวณพื้นท้องน้ำ บริเวณน้ำตก และบริเวณที่ทางน้ำไหลเชี่ยวรูปร่างของกุมภลักษณ์ มีลักษณะเป็นหลุมทรงกระบอก มีแกนยาวตั้งฉากกับพื้นท้องน้ำ และมีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงกลม ความลึก และเส้นผ่านศูนย์กลางของกุมภลักษณ์ อาจมีขนาดที่แปรเปลี่ยน ซึ่งความลึกอาจลึกมากกว่า 1 เมตร และอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 10 เมตรบริเวณส่วนก้นหลุมของกุมภลักษณ์ จะพบกรวด และทราย ที่ตกตะกอน จากทางน้ำ
กุมภลักษณ์ เป็นภูมิลักษณ์ที่เกิดบนผิวของหินที่เคย หรือเป็นส่วนของหินพื้นท้องน้ำ โผล่ให้เห็นเนื่องมา จากระดับน้ำในทางน้ำลดระดับลง การเกิดกุมภลักษณ์เกิดจากกระแสน้ำที่ไหลแบบการไหลปั่นป่วน หมุนวนพาตะกอนขนาด กรวด และทราย กัดเซาะ และขัดสีหินพื้นท้องน้ำ เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หินพื้นท้องน้ำจะถูกกร่อนให้เป็นหลุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก จากภาพจำลองการเกิดกุมภลักษณ์ (ก) กระแสน้ำที่ไหลปั่นป่วนหมุนวน พาตะกอนกรวด และทราย ขัดสีหินพื้นท้องน้ำให้เกิดเป็นแอ่งขนาดเล็ก (ข) เมื่อเวลาผ่านไป แอ่งจะถูกกร่อนให้มีขนาด และความลึกเพิ่มมากขึ้น กระแสน้ำที่เคลื่อนที่เข้าไปในกุมภลักษณ์ จะไหลแบบหมุนวนและมีความเร็วเพิ่มขึ้น และ (ค) เมื่อเวลาผ่านไป กุมภลักษณ์มีขนาด และความลึกเพิ่มมากขึ้น
ชนิดหินและตัวกลางที่ทำให้เกิดกุมภลักษณ์
ตัวกลางในการกร่อน : แม่น้ำโขง โดยอาศัย แรงโน้มถ่วง กระแสน้ำ ที่ทำให้เกิดการกัดเซาะ และตะกอนขนาดกรวดและทราย ที่ทำให้เกิดการขัดสี
ชนิดหินและตัวกลางที่ทำให้เกิดกุมภลักษณ์
รายงานโดย : นางเจติยา ทรัพย์คณารักษ์
ที่ปรึกษา : ผอ.สมร บำขุนทด
เข้าชม : 770 |