หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สาระการเรียนรู้
1. ทักษะการเรียนรู้
2. ความรู้พื้นฐาน
3. การประกอบอาชีพ
4. ทักษะการดำเนินชีวิต
5. การพัฒนาสังคม
วิชาเลือกและวิชาบังคับผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน อย่างน้อย 3 หน่วยกิต
การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 17 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 23 หน่วยกิต
การเทียบโอนผลการเรียน
1. จากหลักฐานการศึกษา
2. จากการศึกษานอกระบบประเภทต่อเนื่อง
3. จากการศึกษาหลักสูตรต่างประเทศ
4. จากความรู้และประสบการณ์กลุ่ม เป้าหมายเฉพาะ
5. จากการประเมินความรู้และประสบการณ์
การวัดและประเมินผล มี 2 ระดับ
1. การประเมินผลในระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย การวัดและประเมินผลรายวิชา กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) และประเมินคุณธรรม
2. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (ภาคเรียนสุดท้ายก่อนสอบปลายภาค)
กรอบการวัดและประเมินผลการเรียน
1. การวัดและประเมินผลรายวิชาผู้เรียนที่จะผ่านการประเมินรายวิชาใด จะต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนและมีคะแนนปลายภาคเรียนรวมกับคะแนนระหว่างภาคเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด การตัดสินผลการเรียนรายวิชาต้องได้คะแนนสอบปลายภาคเรียนอย่างน้อย ร้อยละ 30 แล้วนำคะแนนระหว่างภาคเรียนรวมกันจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น
เกณฑ์กำหนด ค่าระดับผลการเรียน
คะแนน
|
ระดับ
|
หมายถึง
|
80-100
|
4
|
ดีเยี่ยม
|
75-79
|
3.5
|
ดีมาก
|
70-74
|
3
|
ดี
|
65-69
|
2.5
|
ค่อนข้างดี
|
60-64
|
2
|
ปานกลาง
|
55-59
|
1.5
|
พอใช้
|
50-54
|
1
|
ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
|
0-49
|
0
|
ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด
|
2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
3. การประเมินคุณธรรม ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับการประเมินคุณธรรม
4. การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ ผู้เรียนทุกคนต้องเข้ารับการประเมินทุกคนในภาคเรียนสุดท้าย
ระดับการศึกษา/เวลาเรียน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับประถมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียนยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน ทั้งต้องลงทะเบียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
วิธีเรียน กศน.
1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. การเรียนรู้แบบทางไกล
4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
เข้าชม : 346 |