ข้อมูลทั่วไปของตำบลบ้านจาน
...........................................
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ลักษณะที่ตั้ง
กศน.ตำบลบ้านจาน เป็นหนึ่งในตำบลของอำเภอพุทไธสง ตั้งอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านจาน เลขที่ 230 หมู่ที่ 7 บ้านจาน ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ตำบลบ้านจานตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ และตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพุทไธสง ระยะห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ ประมาณ 62 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอพุทไธสง ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินพาณิชย์ อำเภอสตึก 61 กิโลเมตร เนื้อที่ตำบลบ้านจานมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 54 ตารางกิโลเมตร หรือ 33,750 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลบ้านจานเป็นพื้นที่ราบลุ่มและที่ดอนสลับกันอยู่ทั่วไป โดยตอนบนเป็นที่ราบลุ่มและตอนล่างเป็นที่ดอน ลักษณะดินร่วนปนทราย มีอาณาเขตตอนล่างติดลำน้ำมูล ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร มีพื้นที่โดยประมาณ 33,749.50 ไร่ ซึ่งแบ่งเป็น
พื้นที่ราบ 31,927 ไร่ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 94.60%
พื้นน้ำ 506.25 ไร่ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 1.50%
อื่น ๆ 1,316.25 ไร่ คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 3.90%
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน อากาศในฤดูร้อนค่อนข้างร้อนจัดและแล้ง มีลำน้ำสำคัญ ประกอบด้วย ลำน้ำมูล, ลำสะแทด เป็นสายหลักซึ่งมีอาณาเขตติดต่อ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากที่สุดในตำบล ได้แก่
ทรัพยากรดิน ลักษณะดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจานนั้นสามารถจำแนกได้เป็นสองลักษณะ คือ
(1) เป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนมากจะอยู่ติดแม่น้ำมูลเรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และมีทรัพยากรปลามากมาย ทั้งปลาธรรมชาติและปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค
(2) เป็นพื้นที่ดินดอนที่ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรมาเป็นเวลานาน ทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินส่วนใหญ่จะเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปลูกพืชได้ผลผลิตน้อยกว่ามาตรฐาน
ทรัพยากรน้ำ
(1) แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่
- ลำน้ำห้วย จำนวน 10 สาย
- บึง หนอง คลอง และอื่น ๆ จำนวน 61 สาย
- แม่น้ำมูล / ลำสะแทด จำนวน 2 สาย
(2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่
- ฝาย จำนวน 1 แห่ง
- ประปา จำนวน 13 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 269 แห่ง
- สระเก็บน้ำ จำนวน 26 แห่ง
ทรัพยากรป่าไม้ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจาน มีพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้
ที่สำคัญส่วนมากจะ เป็นป่าไม้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำมูล และนอกจากนี้ยังมีป่าไม้ประเภทที่ปลูกเพื่อเป็นเศรษฐกิจ คือ
ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สนเป็นส่วนใหญ่
เข้าชม : 759 |