ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2545 มาตรา 48 กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
ตามกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
(พ.ศ.2552 -2561 ) โดยมุ่งหวังให้ กศน.ตำบลเป็นกลไกในการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ประชาชน เป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยากรอาคาร สถานที่ แหล่งวิทยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณากระบวนการเรียนรู้และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน มีคณะกรรมการ กศน.ตำบล ที่เป็นคนในชุมชน ให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล โดยนำมาตรฐาน กศน.ตำบล ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการติดตามผลประเมินผลและรายงานผล กรอบแนวทางข้างต้นและกรอบทิศทางอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอลำปลายมาศ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 ยุทธศาสตร์ วาระแห่งชาติและนโยบาย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 - 2555 แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2551 - 2555 กระทรวงศึกษาธิการนโยบายของคณะรัฐมนตรีตลอดจนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ที่กำหนด ให้สำนักงาน กศน. มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลำปลายมาศ เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางการผนึกประสานกำลังในการดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2552 – 2555 ให้เป็นองค์กรหลักในการสร้างสังคม อุดมปัญญาด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีคุณภาพและเพื่อการพิจารณา จัดทิศทางนโยบายการพัฒนาการบริหาร อันนำไปสู่การวางกลยุทธ์ในการดำเนินภารกิจของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลำปลายมาศ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ และสนองนโยบายตามลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าชม : 591 |