ข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทางกายภาพของชุมชน ตำบลลำดวน
๑. สภาพทั่วไป
ลักษณะองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ปัจจุบันที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน มีอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง สำหรับให้บริการประชาชนที่มาติดต่อราชการโดยอาคารสำนักงานตั้งอยู่ที่บ้านบุ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
๑.๑ ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอกระสัง ห่างจากตัว อำเภอกระสัง เป็นระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลชุมแสง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเพี้ยรามและตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลห้วยสำราญ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
๑.๒ เนื้อที่
ตำบลลำดวน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๐๓.๐๘ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๔,๔๒๖ ไร่
๑.๓ ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลลำดวน มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีความลาดชันเล็กน้อยในบางพื้นที่ เมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะไหลท่วมไร่นาของราษฎรเนื่องจากติดลำน้ำชี
๑.๔ ป่าไม้
ตำบลลำดวน มีพื้นที่ป่าที่สำคัญ ได้แก่ พื้นที่สาธารณประโยชน์บ้านศรีสนวน หรือป่าห้วยจะเมิง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ แต่ปัจจุบันได้ถูกผู้บุกรุกและทำลายลงไปมาก
๑.๕ แหล่งน้ำธรรมชาติ
ตำบลลำดวน มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ
- ลำห้วยจะเมิง ไหลผ่านทางทิศตะวันตกของตำบลลำดวน โดยไหลผ่านหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖,๗,๘,๑๓,๑๖,๑๘
- ลำน้ำ ,ลำห้วย ๓ สาย
- บึง ,หนองและอื่นๆ ๔๘ สาย
๑.๖ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย ๔ แห่ง
- บ่อน้ำตื้น ๒๔ แห่ง
- บ่อบาดาลโยก ๖ แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน ๑๐ แห่ง
- สถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า ๓ แห่ง
๒. สภาพทางสังคม – ประชากร
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (คน) (ครัวเรือน)
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ครัวเรือน
|
๑
|
ลำดวน
|
๓๕๔
|
๓๘๐
|
๗๓๔
|
๑๘๑
|
๒
|
แสลงพัน
|
๕๑๒
|
๔๗๕
|
๙๘๗
|
๒๑๒
|
๓
|
หนองพลวง
|
๔๑๑
|
๔๐๑
|
๘๑๒
|
๑๗๑
|
๔
|
ยาง
|
๑๗๐
|
๑๘๐
|
๓๕๐
|
๘๖
|
๕
|
โนนสว่าง
|
๓๐๕
|
๓๓๑
|
๖๓๖
|
๑๓๙
|
๖
|
แซว
|
๓๕๓
|
๓๘๖
|
๗๓๙
|
๑๔๓
|
๗
|
กระเจา
|
๓๘๑
|
๔๑๑
|
๗๙๒
|
๑๖๗
|
๘
|
ประดู่
|
๓๑๗
|
๒๖๘
|
๕๘๕
|
๑๒๒
|
๙
|
กระโดน
|
๑๘๕
|
๑๕๙
|
๓๔๔
|
๙๓
|
๑๐
|
หินโคน
|
๔๔๕
|
๓๙๒
|
๘๓๗
|
๒๐๕
|
๑๑
|
บุ
|
๓๐๑
|
๒๘๖
|
๕๘๗
|
๒๑๕
|
๑๒
|
หนองกุ้ง
|
๔๔๓
|
๔๓๑
|
๘๗๔
|
๑๙๑
|
๑๓
|
ขามโคกโพธิ์
|
๑๖๐
|
๑๔๔
|
๓๐๔
|
๕๘
|
๑๔
|
ตาเหือง
|
๑๔๘
|
๑๕๓
|
๓๐๑
|
๖๗
|
๑๕
|
หนองแช่เสา
|
๔๒๓
|
๔๑๘
|
๘๔๑
|
๑๘๕
|
๑๖
|
ลำดวนใต้
|
๒๖๓
|
๒๗๒
|
๕๓๕
|
๑๒๖
|
๑๗
|
ไทรทอง
|
๓๑๙
|
๓๔๓
|
๖๖๒
|
๑๖๑
|
๑๘
|
ศรีสนวน
|
๒๗๗
|
๒๘๖
|
๕๖๓
|
๑๒๗
|
รวม
|
๕,๗๖๗
|
๕,๗๑๖
|
๑๑,๔๘๓
|
๒,๖๔๙
|
การศึกษา
- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑ แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา ๖ แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา ๑ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ๕ แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๑๑ แห่ง
ศาสนา
- ผู้นับถือศาสนาพุทธ จำนวน ๑๑,๓๙๖ คน ร้อยละ ๙๙.๗๗
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ จำนวน ๒๖ คน ร้อยละ ๐.๒๓
- ผู้นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน - คน ร้อยละ -
- จำนวนวัด / สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง
สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ๒ แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน ๒ แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ ๑๐๐
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจภูธรลำดวน ๑ แห่ง
ตั้งอยู่ที่บ้านบุ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
๓. การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
- ถนนลาดยาง จำนวน ๓ สาย
- ถนนคอนกรีต จำนวน ๔๖ สาย
- ถนนดิน จำนวน ๕๔ สาย
- ถนนลูกรัง/ หินคลุก จำนวน ๓๕ สาย
ถนนส่วนใหญ่เป็นถนนที่สร้างมานานแล้ว ทำให้สภาพถนนส่วนใหญ่เกิดความเสียหายไปตามกาลเวลาทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวกเท่าที่ควร
การไฟฟ้า
ตำบลลำดวน มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน แต่มีบางครัวเรือนที่ยังไม่ได้ใช้บริการไฟฟ้าเนื่องจากเป็นบ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ในเขตที่ยังไม่มีการขยายเขตไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละของการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ ๙๕
การประปา
ตำบลลำดวนมีน้ำประปาบริการประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ในรูปแบบประปาหมู่บ้านซึ่งยังต้องการการพัฒนาในด้านคุณภาพและปริมาณน้ำ ให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการใช้ในหมู่บ้านและมีความสะอาดจนสามารถดื่มได้ต่อไป
ลักษณะการใช้ที่ดิน
ลักษณะการใช้ที่ดินของราษฎรในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน มีดังนี้
- พื้นที่พักอาศัย จำนวน ๑๐,๗๓๓ ไร่
- พื้นที่การเกษตร จำนวน ๓๕,๐๐๐ ไร่
- พื้นที่สาธารณะ จำนวน ๕,๘๐๐ ไร่
- พื้นที่อื่นๆ จำนวน ๑๒,๘๙๓ ไร่
๔. สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ประชากรในตำบลลำดวน ร้อยละ ๙๐ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ ๑๐ ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ ฯลฯ
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- โรงสีขนาดเล็ก ๗๘ แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน ๔ แห่ง
- ฟาร์มสุกร ๓ แห่ง
- ฟาร์มไก่ ๒ แห่ง
- ร้านซ่อมรถ ๘ แห่ง
- ร้านเสริมสวย ๒ แห่ง
- ร้านค้า ๑๕๐ แห่ง
- ร้านเน็ต ๖ แห่ง
๕. แหล่งวิทยาการชุมชน และทุนด้านงบประมาณที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการศึกษา
มวลชนจัดตั้ง
- กลุ่มอาสาพิทักษ์ป่า ๑ รุ่น จำนวน ๒๓๐ คน
- กลุ่มเยาวชนหมู่บ้าน ๑๘ กลุ่ม จำนวน ๑๖๒ คน
- คณะกรรมการพัฒนาสตรี ๑ กลุ่ม จำนวน ๓๖ คน
- สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพ ๑ กลุ่ม จำนวน ๑๕๖ คน
- กองทุนหมู่บ้าน ๑๘ กลุ่ม จำนวน ๑๖๒ คน
- กลุ่มเกษตรกร ๑ กลุ่ม จำนวน ๔๕ คน
- กองทุนเศรษฐกิจชุมชน ๑๘ กลุ่ม
- คณะกรรมการพัฒนาครอบครัวในชุมชน ๑ กลุ่ม จำนวน ๒๒ คน
- คณะกรรมการบริหารการดำเนินงานหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ๑๘ กลุ่ม
- กองทุนสวัสดิการตำบลลำดวน ๑ กลุ่ม จำนวน ๑๒ คน
- กลุ่มอสม. ๑๘ กลุ่ม
- กลุ่ม อปพร.ประจำตำบลลำดวน ๒ รุ่น จำนวน ๘๘ คน
ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่และองค์กร ประเภททรัพยากรธรรมชาติ ประเภทกิจกรรมทางสังคม – วัฒนธรรมและต้นทุนงบประมาณ (ระบุแหล่งทุนด้านงบประมาณของชุมชน)