[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก


ภูมิปัญญาชาวบ้าน
แหล่งเรียนรู้

อังคาร ที่ 29 เดือน กันยายน พ.ศ.2563

 ที่มา : https://sites.google.com/site/arcnut2/home

บริบทชุมชน

         ประวัติความเป็นมา 

ตำบลมะเฟือง เดิมเป็นหัวเมืองเก่าแก่ และเป็นที่ตั้งเมืองพุทไธสง ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ และเปลี่ยนมาเป็นตำบลมะเฟือง ในสมัยรัชกาลที่ เป็นต้นมา


สภาพทั่วไปของตำบล 

         เป็นที่ราบมีลำสะแทด และลำน้ำมูลไหลผ่าน ประชาชนส่วนใหญ่ มีอาชีพทำนา และปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

อาณาเขตตำบล 

        ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพุทไธสง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านแพ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

จำนวนประชากรของตำบล 

      จำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,627 คน เป็นชาย 2,747 คน เป็นหญิง 2,880 คน

 ข้อมูลอาชีพของตำบล 

อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม รับจ้าง ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล 

1. พระเจ้าใหญ่ วัดหงษ์ บ้านศีรษะแรด
2. 
ท่าปลาลำน้ำมูล บ้านปลาค้าว


เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล 

    ผ้าไหมบ้านมะเฟือง

ผลิตภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

 
           

       ผ้าไหมบ้านมะเฟือง ตำบลมะเฟือง  อำเภอพุทไธสง มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) รับสั่งให้พระยาจักรกรีนำกองทัพไปทำศึกที่เวียงจันทร์  หลังยึดเมืองเวียงจันทร์ได้แล้วก็เดินทางกลับพร้อมกวาดต้อนครอบครัวชาวลาวสมทบกับกองทัพเดินทางกลับกรุงธนบุรี ผ่านหนองคายนครพนมกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม เมื่อถึงเมืองพุทไธมาศซึ่งเป็นเมืองร้าง ปรากฏภายหลังว่าสร้างเมืองสมัย ทวาราวดี ได้หยุดทัพพักแรมที่ชายทุ่ง หนองแสนโคตร สำรวจชัยภูมิแล้วว่ายากแก่การบูรณะซ่อมแซม จึงได้ให้ทหารไทยและลาวที่ได้กวาดต้อนมานั้นสร้างหลักเมืองที่โนนหมากเฟืองทางทิศคะวันออกของเมืองพุทไธมาศ ซึ่งเป็นบ้านมะเฟืองในปัจจุบันเมื่อพระยาจักรีเดินทางกลับกรุงธนบุรี ได้นำ เพียศรีปาก กลับไปศึกษาด้านการปกครองและให้กลับมาปกครองผู้คนที่บ้าน โนนหมากเฟือง ต่อมาทรงโปรดเกล้าให้เพียศรีปาก เป็น พระเสนาสงครามและในปี2358 พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าให้พระเสนาสงคราม เป็นพระยาเสนาสงคราม ในคราวนั้น ได้มีราษฎรนำผ้าไหมมัดหมี่มาถวย(ถวาย) ผ้าที่นำมาถวายพระยาเสนสงครามชาวบ้าน  เรียกว่า ผ้าไหมมัดหมี่ลายขอทาสตีนปูม(ตีนแดง) ซึ่งผ้าไหมมัดหมี่ได้ถ่ายทอดสูลูกสู่หลานได้เป็นความรู้ติดตัว ต่อมาประเทศไทยได้มีการเลิกทาส ในสมัยนั้นเห็นว่า ผ้าไหมมัดหมี่ลายขอทาสตีนปูมไม่มีความหมายต่อไป จึงได้ค้นคิด ลายใหม่ขึ้นมา โดยนำรูปแบบเศวตฉัตรมาจัดทำเป็นลาย ในสมัยนั้นใช้ชื่อว่า ผ้าไหมมัดหมี่ลายเศวตฉัตรตามภาษที่เรียกในท้องถิ่นและเชิงผ้าเป็นลวดลายสีแดงเช่นเดิม  ซึ่งเป็นลวดลายแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยและในภายหลังได้มีการคิดรูปแบบลวดลายให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มีการผลิตและทอกันมากจนถึงปัจจุบัน ผ้าไหมมัดหมี่บ้านมะเฟือง มีการคิดลวดลายให้มีความหลากหลายส่วนใหญ่ลวดลายจะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชุมชนเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนอิริยาบถของสัตว์ พืช แม้ว่าในปัจจุบันได้มีการพัฒนาลวดลายสวยงามทันสมัยตามความต้องการของตลาด แต่ผู้ทอลายเก่าแบบดั้งเดิมก็ยังมีการทออยู่ การถ่ายทอดการทอผ้าไหมมัดหมี่ของชาวบ้านมะเฟืองกับงานฝีมือที่ผู้หญิงจะต้องเรียนรู้และทอเป็น  โดยการฝึกปฏิบัติกับย่า ยาย แม่ พี่ ป้า น้า อา ซึ่งจะต้องเตรียมไว้ใช้สำหรับออกเรือน มีเอกลักษณ์ ลวดลาย ที่สะท้อนความเป็นชุมชน ผ้าไหมมัดหมี่ บ้านมะเฟือง มีลวดและเอกลักษณ์แสดง ความเป็นชุมชนเกษตรกรรม ทำนา ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยมีการนำเปลือกไม้ ตับไม้ ใบไม้ มาต้ม มาแช่ นำน้ำ ไปย้อมเส้นไหม ให้ได้สีผ้าไหมที่ สวยงาม เป็นสีแดงจากครั่ง สีกรมท่าจากต้นคราม สีเหลืองจากต้นเข สีดำจากมะเกลือผสมโคลนเป็นต้น

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์


ความสัมพันธ์กับชุมชน

      การประกอบอาชีพของคนในชุมชน อาชีพหลักได้แก่การทำนาในที่ลุ่ม ส่วนในที่สูง มีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไว้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่เหลือนำออกจำหน่ายสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวในชุมชน และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนในชุมชนสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ตำนานของผลิตภัณฑ์ปรากฏร่องรอยหลักฐานอ้างอิงถึงตัวบุคคล คือ ผ้าไหมมัดหมี่ลายขอทาสตีนมุมที่ชาวบ้านนำมาถวายแก่พระเสนาสงครามในคราวนี้โดยโปรดเกล้าให้เป็นพระยาเสนาสงคราม เมื่อราว พ.ศ. 2358 ซึ่งเป็นที่มาของผ้าซิ่นตีนแดง (ผ้าไหมมัดหมี่ชนิดหนึ่ง) ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่บ้านมะเฟืองสะท้อนภูมิปัญญาด้านงานหัตถกรรม ซึ่งได้มีการประดิษฐ์คิดค้น ลวดลาย วิธีการทอและความซับซ้อนในการย้อมการทอจนเป็นผ้าผืนสวยใช้สวมใส่การเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนการทอผ้าไหมมีการถ่ายทอดสืบทอดมาด้วยความเชื่อและความศรัทธาในการหาวิธีพึ่งตนเองและเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น และมีการใช้ผ้าไหมสวมใส่ในงานประเพณีของท้องถิ่น งานแต่งงาน การทอผ้าของสตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องสมมาคุณให้แก่พ่อแม่ของสามี การสวมใส่ในงานที่เป็นทางการ การเชื่อมโยงกับความเชื่อของชุมชนเช่น สตรีผู้สูงอายุนุ่งซิ่นต่อหัวต่อตีน เชื่อว่าเป็นการต่ออายุให้ยืนยาว การสวมใส่ผ้าซิ่นตีนแดง สามารถป้องกันผีสางได้ เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง มีคำกล่าวเกี่ยวกับการทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านมะเฟืองไว้ว่า

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

วัตถุดิบ
เส้นไหมสาวมือ
สีย้อม สีธรรมชาติหรือเคมี
น้ำด่าง ธรรมชาติใช้กาลกล้วยเปลือกนุ่น 
อุปกรณ์ 
หม้อ เตา เชือกฟาง กี่ ฟืม กระสวย ไน อัก พวงสาวไหม หลักเฟือ ไม้หีบสาวหลอก ฯลฯ

ขั้นตอนการผลิต


1. ทำเส้นไหมฟอกน้ำด่าง ให้ขาวอ่อนนุ่ม
2. 
ย้อมสีเหลือง
3. 
นำไปกวัก
4. 
ค้นเป็นลำหมี่ แล้วมัดเป็นลวดลาย
5. 
ย้อมสีให้เป็นลวดลาย ถ้าต้องการลวดลายมาก ต้องมัดย้อมหลาย ๆ ครั้งตามต้องการ
6. 
ตากให้แห้ง ตัดเชือกฟางออก
7. 
กวักใส่หลอดเรียงตามลวดลายนำไปทอเป็นผืนผ้า


เข้าชม : 377

ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      แหล่งเรียนรู้ 29 / ก.ย. / 2563


ศูนย์การเรียนรู้ตำบลมะเฟือง 210  หมู่ 1 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ 31120
โทรศัพท์  099-7597359   E-mail :  warissara_li@hotmail.com
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin