ซึ่งหลังจากที่มีข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง อาทิ นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ภูวดี ตู้จินดา กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์, รศ.ดร. พลังพล คงเสรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้ออกมาโต้แย้งในข้อมูลดังกล่าว
โดยอาจารย์ทั้งสามท่านนั้น มีความเห็นว่า กระดาษอนามัยหรือกระดาษทิชชู่นั้น ไม่ได้มีความน่ากลัวตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด และแทบจะไม่มีโซดาไฟ และสารไดออกซินอยู่เลยเสียด้วยซ้ำ
ดร.ภูวดี ตู้จินดา อธิบายผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว โดยสามารถสรุปได้ว่า สารพิษที่เป็นข่าวอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นไดออกซินหรือโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ไม่ได้เกิดขึ้น หรือถูกใช้ใน "กระบวนการผลิตกระดาษ" แต่ถูกใช้ใน "กระบวนการฟอกเยื่อ"
โดย "กระบวนการฟอกเยื่อ" มีหลายขั้นตอน และโรงงานแต่ละแห่งจะใช้ขั้นตอนแตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมแล้วจะมีขั้นตอนการใช้โซดาไฟอยู่ในนั้นด้วย แต่หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนการ "ล้าง" เยื่ออีกมากมาย
ดังนั้น การจะมีโซดาไฟปริมาณมากพอ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ปนเปื้อนอยู่ในเยื่อกระดาษธรรมดาๆนั้นว่าน้อยแล้ว สำหรับระดาษทิชชู่นั้นยิ่งน้อยกว่าเสียอีก
|