[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ยินดีต้อนรับทุกท่าน

 





 

  

บทความทั่วไป
เทียนพรรษา ทำมาจากอะไร

พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2555

คะแนน vote : 0  

เทียนพรรษา ทำมาจากอะไร

เทียนพรรษา
รู้หรือไม่? เทียนพรรษา ทำมาจากอะไร? หลายคนอาจจะสงสัย ว่า เทียนพรรษา คืออะไร? เทียนพรรษา ใช้ทำอะไร? เพราะช่วงนี้เป็นช่วง เข้าพรรษา ก็จะต้องมีการนำเทียนมาถวายวัด หรือ การยกขบวน แห่เทียนพรรษา เอาละเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา
เราไปดูกันดีกว่าว่า เทียนพรรษา ทำมาจากอะไร?
กำเนิด เทียนพรรษา
ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่า วัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตาย จะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือ ศาสนาพุทธ จะทำเทียนเพื่อจุดบูชา พระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้ง ร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็น ศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ
เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาล เข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน
วิวัฒนาการของ เทียนพรรษา
เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดใน โบสถ์ตั้งแต่วัน เข้าพรรษา จนถึงวัน ออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
การทำเทียนพรรษา
มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
เทียนพรรษา
ภาพขบวนแห่ เทียนพรรษา ไปถวายพระที่วัดในอดีต
ต้น เทียนพรรษา ประเภทแรก คือ ” มัดรวมติดลาย ” เป็นการเอาเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัด รวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็น ต้นเทียน ขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน โดย การใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อ เมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้วจึงนำมาติดที่ฐาน และจัด ขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด
การตกแต่งต้นเทียน เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ หรือ ผล ฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออก จากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน
เทียนพรรษา
พ.ศ. 2482 มีช่างทองชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมี การทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน
ต่อมา นายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสี จนเห็นได้ชัด เมื่อส่งเทียนเข้า ประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ. 2497 นายประดับ ก้อนแก้ว คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็น เรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้ เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ และชนะเลิศมาทุกปี ในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์
เทียนพรรษา
ปี พ.ศ. 2502 มีช่างแกะสลักลงใน เทียนพรรษา คนแรก คือ นายคำหมา แสงงาม และ คณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน ทำให้ในปี ต่อๆ มามีการแยกประเภทต้นเทียนออกเป็น 2 ประเภทชัดเจนคือ
ประเภทติดพิมพ์ (ตามแบบเดิม)
ประเภทแกะสลัก
การทำ เทียนพรรษา มีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ. 2511 ผู้คนได้พบเห็น ต้น เทียนพรรษา ขนาดใหญ่และสูงขึ้น มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร ใน ส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนา และความเป็นไปในสังคมขณะนั้น กลายเป็น ประติมากรรม เทียนพรรษา ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ นายอุตส่าห์ และ นายสมัย จันทรวิจิตร สองพี่น้อง นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างแท้จริง
เทียนพรรษา
คราวนี้เราก็ทราบกันแล้วใช่ไหมละว่า เทียนพรรษา ทำมาจาก อะไร? ซึ่งเทศกาลงานบุญ เข้าพรรษา เรียกได้ว่าเป็น เทศกาลประจำชาติไทย อยากจะเชิญชวนวัยรุ่นทุกคน ร่วมงานบุญใหญ่ในครั้งนี้ เพราะสามารถช่วยกันสืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย ที่ดีงามนี้ไว้ให้เพื่อนๆลูกๆหลานๆวัยรุ่นไทย ต่อๆไป
thank:: isangate.com /mohanamai.com
http://teen.mthai.com/education/40373.html 

เข้าชม : 1747


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      จิตแพทย์เตือนอย่าอินการเมือง 20 / ม.ค. / 2557
      ต้นกำเนิด คริสต์มาส 25 / ธ.ค. / 2556
      ผลศึกษาชี้ คุณพ่อบ้างาน อาจส่งผลให้ ลูก ก้าวร้าว 13 / ก.ย. / 2556
      กระทรวงศึกษาฯ เร่งหารือ ทรงผมนักเรียน ใส่เจล-ทำสี ได้หรือไม่? 1 / ก.พ. / 2556
      ประวัติวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง 28 / พ.ย. / 2555


 

                    ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองบุรีรัมย์
                  ถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย  ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์  โทรศัพท์ 0-44611-959   

                 Fax 0-4461-1959    E -Mail :
Muang@buriram.nfe.go.th

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05