บทความสุขภาพ จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่
เสาร์ ที่ 15 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2555
|
|
โดยทั่วไปแล้ว มักจะไม่มีสัญญาณเตือนว่าได้ป่วยเป็นโรคหัวใจแล้ว แพทย์สามารถใช้การทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ เมื่อมีปัญหาด้านหัวใจเกิดขึ้น
ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายโดยละเอียดช่วยให้ระบุได้ว่าเป็นโรคหัวใจ หรือกำลังจะเริ่มเป็นโรคหัวใจ ประวัติสุขภาพก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน จะมีข้อซักถามหลายๆ ข้อ เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และนิสัยการออกกำลังกาย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเองและของบุคคลภายในครอบครัวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกัน
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG or ECG)
ECG เป็นคำย่อของคำภาษาอังกฤษว่า Electrocardiogram ภาษาไทยเรียกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจรูปแบบของจังหวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แผ่นนำไฟฟ้าจะถูกวางบนหน้าอกเพื่อจับสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะพิมพ์ออกมาบนกระดาษกราฟ รูปแบบของสัญญาณที่สม่ำเสมอแสดงว่าหัวใจทำงานปกติ แต่ถ้ามีความแตกต่างในบางจุดของรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าก็อาจแสดงว่ามีบริเวณหนึ่งบริเวณใดของหัวใจได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย วิธีการตรวจประเภทนี้ไม่ซับซ้อนและสามารถรับการตรวจได้ทั่วไป
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายก็คล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือ จะมีแผ่นตะกั่วชุดหนึ่งแปะติดกับหน้าอก มีการบันทึกในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การเดินบนสายพาน หรือการขี่จักรยานอยู่กับที่ การออกกำลังกายนี้จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น และความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น การทดสอบนี้ใช้วัดค่าการตอบสนองของหัวใจต่อความเครียดทางร่างกายด้วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในร่างกาย จำนวนของเลือดที่ไหลไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจที่ตอบสนองต่อการออกกำลังกาย
การตรวจหาระดับเอนไซม์ในเลือด (Blood enzyme tests)
Cardiac enzymes คือสารที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหัวใจถูกทำลาย เอนไซม์ตัวนี้จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด การตรวจเลือดหาด้วยวิธีการนี้จะแสดงให้เห็นถึงระดับเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้นหากคุณมีภาวะหัวใจวาย
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
การตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อจับภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ แพทย์จะศึกษาภาพเพื่อวัดและระบุถึงการทำงานและโครงสร้างของหัวใจ
การตรวจ Radionuclide Scan
Radionuclide Scan เป็นการตรวจโดยใช้รังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและไหลเข้าสู่หัวใจ กล้องชนิดพิเศษจะถ่ายภาพหัวใจแสดงบนจอภาพ เพื่อแพทย์จะได้สังเกตเห็นถึงการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจของท่าน
การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ
การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจเป็นการตรวจเอ็กซเรย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสอดสายยางขนาดเล็กเข้าทางหลอดเลือดที่ขาหนีบและสอดไปตามเส้นเลือดที่เข้าสู่หัวใจ สารมีสีชนิดพิเศษจะถูกฉีดผ่านสายยางนี้ เส้นเลือดในบริเวณที่มีภาวะตีบหรืออุดตันก็จะสามารถตรวจพบจากจอภาพเอ็กซเรย์
ที่มา ... โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์
เข้าชม : 812
|
|
บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด
10 ของอร่อยไขมันสูง กินแล้วไม่อ้วน แถมได้ประโยชน์เน้น ๆ 3 / ก.พ. / 2558
25 Healthy Tips อย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆ 18 / พ.ย. / 2556
ดื่มน้ำผัก ผลไม้ให้ได้ประโยชน์ทั้งที ทางที่ดีอย่าคั้นแบบแยกกาก 13 / ก.ย. / 2556
สุขภาพเสื่อมจากคอมพิวเตอร์ . . . ผักผลไม้ช่วยได้ 20 / พ.ค. / 2556
หัวเผือก-หัวมัน กินเล่น ๆ แต่ได้ประโยชน์จริง 1 / ก.พ. / 2556
|