เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร ระหว่างหลักกม.ที่ 21-22 ทางหลวง หมายเลข 2075 ห่างจากตัวเมือง 66 กม. นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผา โบราณจำนวนมาก พบว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่งคือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจาก อำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กม. ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ หอศิลปกรรมบ้านกรวด ในบริเวณที่ว่าการอำเภอ บ้านกรวด
เตาเผาโบราณมีความสำคัญต่อการศึกษาอารยะธรรมโบราณ แสดงถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนยุคประวัติศาสตร์
เตาเผาบ้านกรวด เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงถึงเครื่องถ้วยวัฒนธรรมขอม ชาม กระปุก โถ รูปทรงของเตาเผาสร้างขึ้นด้วยดินเหนียวบนเนินดินธรรมชาติตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
สำหรับการศึกษาในเรื่องเครื่องถ้วยเขมรโบราณ ที่พบในภาคนี้ โดยเฉพาะในเขตอิสานใต้ไม่ค่อยได้มีการศึกษา
อย่างจริงจังมาก่อน
เตาเผาโบราณโดยเฉพาะที่อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์นั้นเป็นที่รู้จักมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมาตื่นตัวและรู้จัก
กันมากขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๑๑ เนื่องมาจากการอพยพเข้ามาอยู่ของราษฏรในนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด มีการคราดไถปรับดินเพื่อการเกษตร
ได้พบเศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ เป็นจำนวนมากบริเวณเนินดินที่กระจัดกระจายดังกล่าว
ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๙ สยามสมาคมและทางจังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่ออนุรักษ์เตา
เข้าชม : 352 |