แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอบ้านกรวด
ลานหินตัด
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้เส้นทาง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทางหลวง หมายเลข 2075 เดินทางตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว การเดินทางใช้ เส้นทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ทางหลวงหมายเลข 219 ต่อด้วยทางสายประโคนชัย-บ้านกรวด ทาง หลวงหมายเลข 2075 เดินทางเลยบ้านกรวดไปทางละหานทราย 6 กม. มีแยกซ้ายเข้าแหล่งหินตัดอีก 2 กม. ทางลาดยางตลอดสาย
แหล่งหินตัดนี้ เป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอม ตัดเอาไปสร้าง ปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานใต้ ทั่วบริเวณ มีหินทรายก้อนใหญ่น้อยเรียงรายอยู่ทั่วไป บางก้อนยังมีร่องรอย สกัดหินปรากฏอยู่ นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมี ทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา
เขื่อนเมฆา
เขื่อนห้วยเมฆา อยู่ในอำเภอบ้านกรวด ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นเขื่อนที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ทุนสร้างเพื่อแผ่นดินอีสานตอนใต้ เป็นแอ่งน้ำในหุบเขาที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถชมความงามของประตูเปิดปิดน้ำปล่อยน้ำลงลำรางรองรับส่งต่อสู่แผ่นดินเพื่อการเกษตรกรรม บริเวณนี้จะพบหินทรายก้อนใหญ่ สันนิษฐานว่าจะถูกนำไปสร้างปราสาทในเขตอีสานใต้ สวนป่าห้วยเมฆาและสวนป่ายูคาลิปตัส ก็อยู่ในบริเวณนี้ด้วยครับ
ศูนย์วัฒนธรรม
บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภูมิภาคอีสานตอนใต้ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีแหล่งอารยะธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมา และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของบริเวณอีสานใต้เป็นอย่างมาก บรรดานักวิชาการนำโดยนักวิชาการ ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์(วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ในขณะนั้น) จึงได้เริ่มดำเนินการให้มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมขึ้น โดยจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๕ เพื่อปลุกกระแสให้ประชาชนในจังหวัดเกิดความตื่นตัว ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้มีการตั้งชมรม
ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ขึ้น โดยเชิญผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวขณะนั้น ได้แก่ พ่อค้า คหบดี นักวิชาการ นักการเมือง และข้าราชการหน่วยต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม และเริ่มมีการระดมทุน โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเป็นการเริ่มต้น และยังได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง จนสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
|
ด่านช่องสายตะกู
ด่านช่องสายตะกู ต.จันทบเพชร อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ อยู่ตรงข้าม กับช่องจุ๊บโกกี อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 70 กิโลเมตร ถูกยกระดับจากจุดแลกเปลี่ยนสินค้าเพื่อมนุษยธรรมระหว่างไทยและกัมพูชา เป็น "จุดผ่อนปรนทางการค้า" เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 ปัจจุบันมูลค่าทางการค้ายังมีไม่มากนัก แต่เชื่อว่าหลังการเปิดเป็นจุดผ่อนปรนทางการค้าจากนี้ไป จะมีเม็ดเงินสะพัด ปีละหลายร้อยล้านบาทจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงอารยธรรมขอมโบราณ และเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองบุรีรัมย์มุ่งหน้าไปอำเภอบ้านกรวด แหล่งหินตัดขนาดใหญ่ และเป็นหินชนิดเดียวกับที่นำมาสร้างปราสาทพนมรุ้งเมื่อในอดีต ให้ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 มุ่งหน้าอำเภอประโคนชัย ไปอำเภอบ้านกรวด จากนั้นให้มุ่งหน้าไปตำบลจันทบเพชร ปัจจุบันสภาพถนนยังเป็น 2 เลน ตัดผ่านหมู่บ้านและสวนยางพารา ยังไม่มีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ แต่ได้มีการปรับปรุงเส้นทางสัญจรเพื่อให้เข้าถึงตัวด่านได้สะดวก บางช่วงเป็นถนนลาดยาง ถนนช่วงที่จะถึงชายแดนยังเป็นถนนลูกรัง มีต้นไม้เป็นแนวกันชนกับชายแดน
บริเวณที่ตั้งด่านช่องสายตะกูเป็นที่ตั้งของกองร้อยทหารพรานที่ 2604 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ฐานปฏิบัติการช่องสายตะกู ปัจจุบันได้ขยายเวลาให้มีการค้าขายเพิ่มขึ้นเป็น 3 วันต่อสัปดาห์ ในวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ จากเดิมที่เปิดเพียง 2 วัน คือ วันศุกร์และเสาร์เท่านั้น ตั้งแต่ช่วงเช้าถึงบ่าย
"ธงชัย ลืออดุลย์" ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า มั่นใจว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าด่านแห่งนี้จะถูกยกระดับให้เป็นด่านถาวรเต็มรูปแบบ เพราะมีศักยภาพด้านการค้าชายแดนอย่างมาก วัดได้จากมูลค่าการค้าที่เกิดขึ้นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทุก ๆ ปี โดยปี 2555 อยู่ที่ 15 ล้านบาท ปี 2556 เพิ่มเป็น 18 ล้านบาท
อนาคตจะต้องมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั้งสองฝั่ง ตอนนี้จังหวัดมีความพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเปิดด่านช่องสายตะกูก่อนวันสงกรานต์นี้
- ผึ้งร้อยรัง - สายตรีพัฒนา ๓
ผึ้งร้อยรังอยู่ในบ้านสายตรีพัฒนา ๓ หมู่ที่ ๑๐ ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านโครงการของรัฐบาล “หมู่บ้านตัวอย่าง” โดยมอบหมายให้นิคมสร้างตนเองบ้านกรวดเป็นผู้จัดสรรที่ดินให้เพื่ออยู่อาศัยและที่ดินทำกิน ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่กลางหมู่บ้าน เรียกว่า“ต้นไทร” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือจากความเชื่อว่ามีผู้ปกปักษ์รักษาชาวบ้านให้อยู่อย่างสงบสุข
เมื่อปลายเดือนธันวาคม ปี 2535 ได้มีผึ้งมาสร้างรังแต่จำนวนรังยังไม่มากเหมือนปัจจุบัน และมีทหารพรานได้นำไม้มาแปรรูปใต้ต้นไม้ใหญ่นี้ ปรากฏว่าผึ้งได้รุมต่อยเป็นอย่างนี้อยู่ประมาณ 3 วัน ต่อมาเมื่อปี 2538 จนถึงปัจจุบัน มีผึ้งมาสร้างรังกว่าร้อยรัง จึงเป็นที่มาของตำนานมหัศจรรย์”ผึ้งร้อยรัง”
เข้าชม : 1283 |