การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีเป้าหมายเพื่อจัดให้มีระบบกระตุ้น ชี้แนะ หรืออำนวยความสะดวก ด้วยวิธีการวิธีการให้บุคคลสมามรถเรียนรู้ด้วยตนเองในเรืาองที่ตนเองสนใจ หรือตนเองถนัด
ของตน สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทใด้ในเวลาไดๆก็ได้ ที่ตนเองสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวาง รู้เท่าทันพัฒนาการของโลก อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปเติมเต็มในชีวิต ให้แก่ตนเองหรือเกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิ ตามความเหมาะสม
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ คือ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคลซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกรูปแบบในการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของตนเอง และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม
การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพ
การจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพเป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีอาชีพ หรือ เห็นช่องทางการทำมาหากิน คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการทำงานเพื่อการประกอบอาชีพอิสระ อาชีพในตลาดแรงงาน หรือเพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองหรือชุมชน รวมทั้งเพื่อเพิ่มวุฒิทางการศึกษาและการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับหน้าที่การงาน โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
1. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
2. กลุ่มสนใจวิชาชีพ
3. หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ พุทธศักราช 2533 (ปอ.)
4. หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2539 (กศน.ปวช.)
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดให้บริการแก่ประชาชน เป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียนสั้น ๆ ตามลักษณะของเนื้อหาที่สามารถจบในตัวเอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอาชีพ ประกอบอาชีพอิสระ และพัฒนาทักษะฝีมือ แรงงานเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น การเพาะเห็ด ตัดผม แปรรูปผลผลิตการเกษตร ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมโลหะ ช่างซ่อมจักรยาน วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
กลุ่มสนใจวิชาชีพ
เป็นการจัดการศึกษาอาชีพให้แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถจัดได้รวดเร็วเพื่อให้สามารถสนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนได้ในทันที โดยมีการรวมกลุ่มผู้ที่สนใจในอาชีพเดียวกันมาเรียน กลุ่มหนึ่ง ๆ มีผู้เรียน 15 คนขึ้นไป มีระยะเวลาการเรียนไม่เกิน 30 ชั่วโมง โดยมีวิทยากรผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้สอน (สมาชิกกลุ่มรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุฝึก)
หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ พุทธศักราช 2533 (ปอ.)
หลักสูตรประกาศนียบัตรอาชีพ (ปอ.) เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา สำหรับผู้จบระดับประถมศึกษา (ป.6) แล้ว ให้มีโอกาสศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าสู่อาชีพ มีรายได้เกิดขึ้นระหว่างเรียน หรือเรียนจากประสบการณ์ในอาชีพที่ประกอบอยู่โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาจนได้ประกาศนียบัตรเทียบเท่า ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในระบบโรงเรียนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2539 (กศน.ปวช.) เป็นหลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้เรียนที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น และกำลังทำงานในสถานประกอบการ เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะวิชาชีพเฉพาะด้าน ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับการศึกษาของผู้เรียนให้สูงขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาทำงาน ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบโรงเรียน สาขาวิชาที่เปิดสอนมี 17 สาขาวิชา คือ
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ |
- การจัดการ |
- การโรงแรมและการท่องเที่ยว |
- ภาษาอังกฤษธุรกิจ |
- ธุรกิจและบริการอุตสาหกรรม |
- การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ |
- ธุรกิจอาหาร |
- ผ้าและเครื่องแต่งกาย |
- ช่างยนต์ |
- ช่างอุตสาหกรรมเซรามิก |
- ช่างอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม |
- ช่างเชื่อมอุตสาหกรรม |
- ช่างกลโรงงาน |
- ช่างควบคุมงานก่อสร้าง |
- ช่างเขียนแบบก่อสร้าง |
- อิเล็กทรอนิกส์ |
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
|
|
เข้าชม : 1926 |