|
|
ประวัติ กศน.ตำบล
ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดตั้งเป็นตำบล โดยแยกจากตำบลหนองกง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบัน แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ หมู่บ้าน จัดการบริหารตำบลในรูปแบบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอนางรอง ห่างจากที่ว่าการ
อำเภอนางรอง ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร อาชีพหลักของราษฎร คือการทำนา อาชีพรอง คือการผลิตข้าวเม่าจำหน่าย ซึ่งมีแหล่งที่ตั้งอยู่ที่ ๑ บ้านโคกว่าน และอาชีพทอผ้าไหม มีแหล่งผลิตอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ บ้านห้วยพัฒนา และหมู่ที่ ๑๒ บ้านโสนน้อยพัฒนา
กศน.ตำบลหนองโสน มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน สามารถแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน.ตำบล ได้ดังนี้ ๑. จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อ ยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม๒. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกําลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร๓. พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้ รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร๔. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ ๕. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าชม : 640 |
|
|
|