ประวัติความเป็นมา

ข้อมูลเทศบาลตำบลหนองเต็ง
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
เมื่อปี พ.ศ. 2453 เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านคอโค อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้ข้ามลำน้ำชีมาทางทิศตะวันตกในเขตตำบลสองชั้น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ชื่อหนองทำนบ ริมหนองน้ำสองฝั่งมีต้นเต็งขนาดใหญ่ 2 ต้นขนาดห้าคนโอบเป็นที่สังเกตเด่นชัดของคนทั่วไป ต่อมาเลยเรียกติดปากว่าหนองเต็งตามชื่อต้นไม้ เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรกมีจำนวนครัวเรือนยี่สิบกว่าครัวเรือน เรียกว่าบ้านหนองเต็ง ตำบลสองชั้น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และต่อมาปี พ.ศ. 2506 มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่แยกเป็นกิ่งอำเภอกระสังออกจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ต่อมาปี พ.ศ. 2508 บ้านหนองเต็ง ตำบลสองชั้นได้ยกระดับเป็นตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งแต่นั้นมา
ตำบลหนองเต็ง ประกอบด้วย 3 ชนเผ่า ได้แก่ เขมร ส่วย ลาว ซึ่งมีความเอื้ออาทรต่อกัน ร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เช่น สร้างศาลา สร้างสะพาน โดยไม่คิดค่าแรง และมีประเพณีหลากหลายแตกต่างกัน เช่น
ลาว มีประเพณีบุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่
เขมร มีประเพณีโดนตา สาดใหญ่ ตักบาตรเทโว บวช แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่
ส่วย มีประเพณีปันโจล หรือแกลวมอ
แต่มีประเพณีทำบุญที่คล้ายกัน ได้แก่ การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน การบวช การบายศรีสู่ขวัญสภาพและข้อมูลพื้นฐาน
1.สภาพทั่วไป
1.1 ที่ตั้ง ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบล ชุมแสง
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบล บ้านปรือ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลคอโค จ.สุรินทร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอห้วยราช
1.2 เนื้อที่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 71.17 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,856 ไร่
1.3 ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดเทจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก
1.4 คำขวัญประจำตำบล
บายศรีสวยงามเด่น ชุ่มฉ่ำเย็นำน้ำชี
ปลามากมีบึงกุดใหญ่ ผ้าใยไหมงามสง่า
ทรงคุณค่าวัฒนธรรม บารมีสูงล้ำหลวงพ่อเชย
1.5 จำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน
1.6 ความหนาแน่นประชากร 167 คนต่อตารางกิโลเมตร
เข้าชม : 1078 |