วัดบรมคงคา หรือที่ชาวบ้านเรียก วัดบ้านแวง สังกัด มหานิกาย อยู่ในเขตปกครองคณะสงค์ ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัด บุรีรัมย์ภาค ๑๑
วัดบรมคงคา มีประวัติศาสตร์ความเป็นช้านานกว่า ๒oo ปี วัดบรมคงคาเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ของอำเภอพุทไธสง เดิมทีชื่อวัดตะคร้อ
พ.ศ. ๒๓๕๔ ได้มีการสร้างวัดบรมคงคาขึ้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้ก่อสร้าง ที่ได้ชื่อว่าวัดตะคร้อ
เพราะสถานที่สร้างและตั้งวัดสมัยนั้นมีต้นไม้ตะคร้อใหญ่มากมาย
พ.ศ.๒๓๘๙ ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นวัดคงคา เพราะวัดตั้งอยู่ใกล้ลำห้วยหม่วย
พ.ศ.๒๔๔๕ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบรมคงคา จนถึงปัจจุบัน
แรกเริ่มเดิมที สมัยก่อนนั้นยังไม่มีอุโบสถ มีเพียงสิมน้ำ สิมนี้สร้างอยู่กลางหนองน้ำแวง มีลักษณะเป็นเสาไม้ มุงด้วยหญ้าคา หลายปีต่อมา ก็ย้ายจากหนองขึ้นมาสร้างบนบกตรงตำแหน่งที่ที่ตั้งอุโบสถหลังปัจจุบัน
พ.ศ.๒๔๕๒ วัดบรมคงคาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๒ จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
พ.ศ.๒๔๖๗ จึงมีการสร้างอุโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นมา โดยมีหลวงพ่อเบ้าเป็นผู้สืบสานและผู้บูรณะ คาดว่าสร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙
พ.ศ. ๒๕๓๙ วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ อุโบสถเริ่มทรุดโทรมลงตามกาลเวลาและมีปลวกกัดกินตามโครงสร้างระแนงไม้โดยชาวบ้านได้เสนอแบบของบประมาณจากกรมศิลปากรเพื่อมาบูรณะอุโบสถใหม่แต่ไม่ได้งบประมาณชาวบ้านจึงจัดทำบุญผ้าป่าและบุญกฐินจนสามารถรวบรวมเงินได้มากพอสำหรับการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
พื้นที่ใช้สอยในอาคารกว้างประมาณ ๔.๙o เมตร ยาวประมาณ ๙.๒๓ เมตร (๔๕.๒๒๗ ตารางเมตร) อุโบสถหลังนี้ยังคงใช้ประกอบสังฆกรรมตามปกติ แต่จำกัดจำนวนผู้เข้าไปภายในตัวอาคาร มิให้มีจำนวนมากจนเกินไปเนื่องจากสภาพของอาคารที่มีการชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา
อุโบสถมีลักษณะสถาปัตยกรรมทรงไทย-ลาว เป็นอุโบสถทึบชั้นเดียว ผังพื้นแบบทรงโรง มีมุขหน้าและมีระเบียง ซึ่งอุโบสถมีขนาด ๓ ห้อง ขนาดกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๗ เมตร โครงสร้างอาคาก่ออิฐถือปูน มีระเบียงล้อมรอบตัวอุโบสถ




ขอบคุณข้อมูล จาก https://sites.google.com
เข้าชม : 231 |