ASEAN : อาเซียน
ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน
บรูไน ดารสซาลามุ (BRUNEI DARUSSALAM)
เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน
วันชาติ 23 กุมภาพันธ์
สกุลเงิน ดอลล่าร์บรูไน
วันเข้าร่วมอาเซียน 7 มกราคม 2527
ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
เมืองหลวง กรงพนมเปญ
วันชาติ 9 พฤศจิกายน
สกุลเงิน เรียล
วันเข้าร่วมอาเซียน 9 เมษายน 2542
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (REPUBLIC OF INDONESIA)
เมืองหลวง กรุงจาการ์ตา
วันชาติ 17 สิงหาคม
สกุลเงิน รูเปียห์
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAO PEPLE’ S DEMOCRATIC REPUBLIC)
เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทร์
วันชาติ 2 ธันวาคม
สกุลเงิน กีบ
วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
มาเลเซีย (MALASIA)
เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์
วันชาติ 31 สิงหาคม
สกุลเงิน ริงกิต
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
สหภาพพม่า (THE UNION OF MYANMAR)
เมืองหลวง เมืองเนปีดอ
วันชาติ 4 มกราคม
สกุลเงิน จั๊ด
วันเข้าร่วมอาเซียน 23 กรกฎาคม 2540
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
เมืองหลวง กรุงมะนิลา
วันชาติ 12 มิถุนายน
สกุลเงิน เปโซ
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
เมืองหลวง สิงคโปร์
วันชาติ 9 สิงหาคม
สกุลเงิน ดอลล่าร์สิงคโปร์
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
เมืองหลวง กรุพเทพมหานคร
วันชาติ 5 ธันวาคม
สกุลเงิน บาท
วันเข้าร่วมอาเซียน 8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
เมืองหลวง กรุงฮานอน
วันชาติ 2 กันยายน
สกุลเงิน ด่ง
วันเข้าร่วมอาเซียน 28 กรกฎาคม 2538
อ้างอิง ASEAN Mini Book กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/media/aseanMiniBook.pdf
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรฯ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรฯ จะเป็นสถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental organization)
กฎบัตรฯ ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียนได้แก่ (1) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตาม กฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบ ต่อผลประโยชน์ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุก เฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปีจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
กฎบัตรอา เซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้