ประวัติความเป็นมาของตำบลแสลงโทน
ตำบลแสลงโทน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอประโคนชัย ประชากรอยู่กันเป็นกลุ่ม ตั้งขึ้นเมื่อ 29 กันยายน 2513 ต่อมาตำบลแสลงโทน ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2551
ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปีหรือราวพุทธศตวรรษที่ 15 และน่าจะเป็นเมืองร่วมสมัยกับปราสาทหินพนมรุ้ง ที่ตั้งขึ้นในราวศตวรรษที่ ๑๕ เนื่องจากยังไม่ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจิงจัง หรือว่าอาจมีการทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จึงมีชุมชนในละแวกใกล้เคียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยซ้อนทับชุมชนโบราณเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2478 เริ่มมีการสำรวจศึกษา
ภาพถ่ายทางอากาศบ้านแสลงโทน
จากภาพถ่ายทางอากาศและหลักฐาน ทางโบราณคดีที่พบแสดงให้เห็นว่า ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน มีการอาศัยมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ช่วงนี้จะอาศัยกันอยู่อย่างไม่หนาแน่นนัก มีการขุดคูน้ำหรือคูเมืองละลม เป็นคูเมืองเก่าล้อมรอบชุมชนและกำแพงดินเพื่อใช้ป้องกันภัยศัตรู ผู้รุกราน และเพื่อกักเก็บน้ำและอาหาร ลักษณะของผังเมืองจะเป็นรูปวงรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก กว้าง 1,750 เมตร ยาว 5,756 เมตร สูง 5-7 เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดินเป็นกำแพงเมือง 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายแต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ และบริเวณเนินดินโรงพักตำรวจชุมชนตำบลแสลงโทนเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าทั้งสองแห่งน่าจะเป็น ปราสาทแสลงโทน เป็นอนุสรณ์สถานทางศาสนา ถูกรื้อหมดสภาพ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จฯ เขาพนมรุ้ง
นายจัด ชัยวิเศษ เล่าว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จมาปราสาทพนมรุ้งพร้อมด้วยพระชายา เมื่อปีขาล ปลายเดือนธันวาคม 2457 โดยเสด็จจากเมืองบุรีรัมย์ พาหนะที่ใช้ในการเดินทางมีช้าง 5 เชือก น้ำที่ใช้บริโภคใช้คนหาบ ภาชนะที่ใส่น้ำเป็นไหเท (ภาชนะใส่เหล้าสมัยนั้น) คนหาบน้ำนำน้ำมาจากบุรีรัมย์ ครั้งนั้นหม่อมเจ้านิสากรเป็นเจ้าเมืองบุรีรัมย์
การเตรียมการต้อนรับทำเนียบ (พลับพลาที่พักชั่วคราว) ตามรายทางดังนี้คือ
- บ้านลำเดง-เสม็ด-ทำเนียบพักร้อนระหว่างทาง
- บ้านแสลงโทน -ทำเนียบพักกลางคืน
- บ้านไทร(หนองระหาน) -ทำเนียบพักร้อน
- วัดแจ้ง -ทำเนียบพักกลางคืน
มีการแสดงพื้นเมืองได้แก่ เล่นตรด โดยมีการสีซอ 3 สาย และจับกรับ เป็นต้น ในการต้อนรับเสด็จ และพ่อครัวประกอบอาหารเป็นชายชาวจีน 2 คนตามเสด็จ ภายหลังจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาผ่าน บ้านแสลงโทนเพื่อไปชมปราสาทพนมรุ้งเมื่อปี 2457 แล้ว ต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงคำเรียก "เมือง" ให้เรียกว่า "จังหวัด" ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองก็ให้เรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 51 วันที่ 28 พฤษภาคม 2459)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จฯ เขาพนมรุ้ง
นายจัด ชัยวิเศษ เล่าให้ฟังว่าเมื่อปีวอกปลายเดือนมกราคม 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสด็จประพาสพนมรุ้งโดยเสด็จจากบุรีรัมย์ผ่านเส้นทาง บ้านแสลงโทน โดยเสด็จมาเพียงพระองค์เดียว ใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทางใช้เกวียนบรรทุกเสบียงไม่มีการแบกหามได้ดำเนินการจัดทำเนียบที่พักตามรายทางดังนี้
- บ้านแสลงโทน -ทำเนียบพักนอน
- บ้านไทร -ทำเนียบพักร้อน
- วัดแจ้ง -ทำเนียบพักนอน
- หนองบัวราย -ทำเนียบพักร้อน
จะเห็นว่าจุดที่สร้างทำเนียบจะเป็นจุดเดียวกันกับสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จ แต่การเสด็จของกรมหลวงนครสวรรค์ฯไม่ต้องใช้คนหาบน้ำเหมือนเมื่อครั้งกรมพระยาดำรงฯไม่มีการแสดงต้อนรับเหมือนครั้งก่อน แต่มีคณะเครื่องสายตามเสด็จมาจากกรุงเทพฯ การรับเสด็จครั้งนี้ที่ บ้านแสลงโทน เป็นการเล่นดนตรีพื้นเมืองเช่นกัน
ลักษณะที่ตั้ง
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงโดยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 180 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประโคนชัย ไปทางทิศเหนือประมาณ 19 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 36.45 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ จดเขตตำบลเสม็ด และตำบลเมืองฝาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศใต้ จดเขตตำบลบ้านไทร อำเภอประโคนชัย
- ทิศตะวันออก จดเขตตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย
- ทิศตะวันตก จดเขตตำบลสี่เหลี่ยม อำเภอประโคนชัย
โครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้านใช้การคมนาคมทางบกโดยทางรถยนต์เป็นหลักในการติดต่อและขนส่งผลิตผลทางการเกษตร โดยมีเส้นทางที่สำคัญ ดังนี้
โทรคมนาคม แม้การให้โทรศัพท์พื้นฐานยังไม่ทั่วถึงแต่จากการที่ประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันอย่างแพร่หลาย และเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล ทำให้การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
การไฟฟ้า อยู่ใกล้ตัวเมืองและมีสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอประโคนชัยตั้งอยู่ในพื้นที่ทำให้สามารถให้บริการไฟฟ้าได้ครอบคลุมแทบทุกหลังคาเรือน
ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติ
สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินชุดร้อยเอ็ด ดินบางส่วนเป็นดินชุดโคราช และดินชุดสตึก
ลักษณะสภาพแวดล้อม
พื้นที่เทศบาลตำบลแสลงโทน มีลักษณะผสมผสานระหว่างสภาพสังคมเมืองและชนบทประกอบกับมีพื้นที่ติดกับเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จึงมีความเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ซึ่งความเจริญเติบโตดังกล่าวหากไม่มีมาตรการควบคุมที่ถูกต้องย่อมจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนได้
ลักษณะสภาพทางเศรษฐกิจ
ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาข้าว แต่โดยศักยภาพด้านพื้นที่ที่อยู่ชานเมืองติดต่อกับเขตตัวเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดทำให้การขยายตัวด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว
- ด้านการอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ เช่น โรงงานขยะรีไซเคิ้ล โรงงานเลี้ยงไก่ เป็นต้น
- ด้านพาณิชย์ มีการประกอบกิจการด้านการพาณิชยกรรมและการบริการจำนวนมาก อาทิเช่น ร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน
- ด้านเกษตร ปัจจุบันราษฎรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนาข้าว
มีห้างสรรพสินค้า จำนวน 1 แห่ง
- ห้างทวีกิจแสลงโทน ตั้งอยู่ที่ ริมถนนสาย 219 หมู่ที่3 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย
ลักษณะทางสังคม
เทศบาลตำบลแสลงโทน มีประชากรตามสำเนาทะเบียนบ้านทั้งสิ้น 6,003 คน แยกเป็นชาย 3,078 คน หญิง 2,925 คน จำนวน 1,587 หลังคาเรือน
ด้านสาธารณสุข
ด้านการศาสนาและวัฒนธรรม
ราษฎรส่วนใหญ่ร้อยละ 98 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 1 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่นร้อยละ 1 มีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้
- วัดบ้านแสลงโทน
- วัดป่าสังฆราวาส บ้านหนองบอน
ด้านการศึกษา
สถานศึกษา จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย
ด้านความปลอดภัย
การบริหาร
ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านแสลงโทน
- หมู่ที่ 2 บ้านแสลงโทน
- หมู่ที่ 3 บ้านแสลงโทน
- หมู่ที่ 4 บ้านแสลงโทน
- หมู่ที่ 5 บ้านหนองบอน
- หมู่ที่ 6 บ้านแสลงโทน
- หมู่ที่ 7 บ้านแสลงโทน
เข้าชม : 1475 |