[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
  กศน.ตำบลทรัพย์พระยา เป็นฐานชุมชน ค้นหาศักยภาพ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ปลูกฝังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
   กลับหน้าหลัก


ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การแกะสลักหิน

จันทร์ ที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2558

      งานแกะสลักหินในเมืองไทยมีมานานแล้ว จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบทั้งจากกรมศิลปากรเเละนักค้นคว้าทางโบราณคดีมีอายุอยู่ในสมัยอมราวดีและสมัยทวารวดีนับพันปี โดยมีเอกลักษณ์ทางพุทธปฎิมากรรมและ เทวรูปตามความเชื่อของลัทธิต่าง ๆ
     
โดยช่างผู้ทำการแกะสลักหินจะได้รับการถ่ายทอดเป็นช่วง ๆ จากคนรุ่นหนึ่ง สู่รุ่นหนึ่ง โดยมีการประยุกต์ดัดแปลงในรูปทรงเเละเชิงประติมากรรมคนในสมัย ปัจจุบันจึงสามารถสังเกต และแยกแยะงานแกะสลักหินแต่ละชิ้นได้ว่าอยู่ในสมัยใด และอาจสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของคนในแต่ละสมัยได้ด้วย เช่น พุทธปฏิมาสมัยสุโขทัยจะมีความอ่อนช้อยงดงาม บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรที่ไพร่ฟ้ามีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีความสุข พุทธปฏิมาสมัยอู่ทองสะท้อนถึงอำนาจของผู้ครองนครและได้รับอิทธิพลจากเขมรแสดงให้เห็นถึงการแผ่ขยายอาณาจักรส่วนพุทธปฏิมาสมัยอยุธยาจะมีพระพักตร์ใหญ่เเละน่าเกรงขามเเสดงให้เห็นว่าระยะนี้ชนเผ่าไทยเผชิญภัยสงครามอย่างต่อเนื่องและได้สะท้อนผ่านความนึกคิดของศิลปินผู้เป็นช่างแกะเเละจากอดีตอันไกลโพ้น ถึงปัจจุบันในวันนี้ เเม้ว่าการแกะสลักหินจะเป็นที่เหนื่อยยากแสนเข็ญ ดังที่คนทั่วไปมักเปรียบเทียบงานยาก ๆ ว่า “ งานหิน ” นั้น แต่ภูมิปัญญาในสาขานี้ยังคงได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นปัจจุบันเนื่องเพราะเสน่ห์ของความยากในเนื้องานที่สร้างความภูมิใจภายหลังงานเสร็จสิ้น โดยมีรายได้ที่มากพอเป็นแรงจูงใจ
     นายสมศักดิ์  ฉิ่งสูงเนิน  
คือ บุคคลหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์  ที่ยึดอาชีพการแกะสลักหิน เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมครอบครัวไม่ได้ประกอบอาชีพเเกะสลักหิน ส่วนตัวนั้นชอบวาดรูปและอยากยึดอาชีพเป็นช่างเขียนรูป แต่ทำได้ระยะหนึ่งงานประเภทดังกล่าวได้ถูกช่างเขียนรุ่นใหม่ใช้วิธีลอกภาพและลงสแกนงานเขียนที่เคยมีราคาในระดับดีจึงตกลงมาอย่างมาก ต่อมาเห็นว่างานแกะสลักหิน ซึ่งถือเสมือนงานชิ้นเดียวในโลก เหมือนช่างเขียนรูปและมีเสน่ห์ของงานไม่แพ้กัน จึงเริ่มเรียนรู้จากชาวพื้นบ้านที่ยึดอาชีพแกะสลักหินในตัวเมือง จนมั่นใจว่าสามารถจะนำความรู้จากงานช่างประเภทนี้มาประกอบเป็นอาชีพได้ จึงเริ่มลงมือทำจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาหลายสิบ ปีแล้ว
 

เข้าชม : 73

ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      การแกะสลักหิน 28 / ธ.ค. / 2558


กศน.ตำบลทรัพย์พระยา  อำเภอนางรอง  จังหวัดบุรีรัมย์
โทรศัพท์ 090-8254775 E-mail :memie-narak@hotmail.co.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin