ข้อมูลทั่วไปของ ตำบล ดอนมนต์
ที่ตั้ง
ตำบลดอนมนต์ ตั้งอยู่ทิศตันตกเฉียงใต้ของอำเภอสตึก โดยมีระยะทางจากอำเภอสตึก ประมาณ 16 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง
ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลร่อนทอง อำเภอสตึก
ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน
ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน
เนื้อที่
เขต อบต.ดอนมนต์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,750 ไร่
สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมนต์ พื้นที่ไม่ราบเรียบ ทางด้านตะวันออกมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 170 ฟิต ทางด้านตะวันตกจะเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรมีอาชีพทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ ดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีลำตะโคงไหลผ่านตลอดปี เขตแบ่งตำบลดอนมนต์จะใช้ลำตะโคงเป็นเส้นแบ่งเขต
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส พลาดโอกาสที่อยู่นอกระบบโรงเรียนให้มีความรู้พื้นฐาน มีทักษะอาชีพ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อให้สารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เป้าหมาย
1. คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
2. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างกว้างขวาง
4. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้
5. แหล่งการเรียนรู้มีอยู่อย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาส และช่องทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่มีคุณภาพและสนองตอบความต้องการของประชาชน
6. สถานศึกษานำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการบริหารองค์กร และจัดบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
7. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ สามารถจัดบริการตอบสนองกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์การดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายและทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 2 ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับสภาพกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เป็นฐานความรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่ 4 ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 จัดระบบการบริหารให้มีประสิทธิภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน
การจัดการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์ มีนโยบายและจุดเน้นในการดำเนินงาน ดังนี้
1. สนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี
1) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าเล่าเรียน ค่าจัดซื้อหนังสือ และค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2) จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและปรับพื้นฐานการศึกษาของผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ กิจกรรมเรียนปรับพื้นฐาน กิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และกิจกรรมจัดหาสื่ออุปกรณ์การสอนของครู หรือหนังสือที่นอกเหนือจากแบบเรียน รวมทั้งสร้างโอกาสในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3) จัดหาหนังสือเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ ตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพในอัตราร้อยละ 60 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนหนังสือ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการหนังสือเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์มีนักศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 การศึกษาพื้นฐานนอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่พ้นเกณฑ์การศึกษา ภาคบังคับหรือผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษา และขาดโอกาสได้รับการศึกษาในระบบ หรือในพื้นที่ ที่สถานศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ได้จัดการศึกษาพื้นฐานนอกระบบในปีงบประมาณ 2557 แบ่งการศึกษาเป็น 3 ระดับ
จำนวนนักศึกษาภาคเรียนที่ 2/ 2556 ทั้งหมด 122 คน แยกตามระดับการศึกษา ดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา จำนวนนักศึกษา 11 คน
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักศึกษา 52 คน
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนนักศึกษา 69 คน
1. การศึกษาต่อเนื่อง
1.1 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนและประชาชนทั่วไป จะเน้นเนื้อหาความรู้และทักษะ
อาชีพที่สอดคล้องกับสภาพของแต่ละพื้นที่แต่ละท้องถิ่น เช่น ให้ผู้เรียนมีทักษะในการจัดการระบบบัญชีการตลาดและการบริหารจัดการ สามารถประกอบอาชีพสมัยใหม่หรืออาชีพที่ก้าวหน้าในอนาคตหรือการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบอาชีพ ได้รู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการฝึกทักษะอาชีพระยะสั้นให้กับประชาชน ได้ฝึกและพัฒนาทักษะอาชีพเบื้องต้นเพื่อให้สามารถมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพและนำความรู้ ทักษะมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น
- หลักสูตรระยะสั้น
- ฝึกทักษะพื้นฐานอาชีพ
-จัดกลุ่มพัฒนาอาชีพ
- ฝึกทักษะโดยใช้เทคโนโลยี
1.2การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
เป็นกิจกรรมที่จัดเพื่อพัฒนาทักษะของประชาชนโดยเน้นการกระตุ้นให้เกิดวิธีคิดให้มีความรู้สึกเห็นคุณค่าเกียรติศักดิ์ของตนเองซึ่งมีเนื้อหาของกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกวันได้แก่ครอบครัวศึกษา ดนตรี กีฬา ยาเสพติด ประชาธิปไตย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณธรรมจริยธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โบราณคดี ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าค่าย การแข่งขัน การศึกษาดูงาน กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เน้นผู้สูงอายุและเยาวชน
1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
เป็นกิจกรรมที่จัดเพื่อตอบสนองนโยบายและความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยเน้นการจัดเวทีชาวบ้าน การจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน การจัดการความรู้ในชุมชน การจัดการความรู้ในชุมชน การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ของคนในชุมชน การพัฒนาทักษะการเรียนรู้พื้นฐานในวิชาการสมัยใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตชุมชน เป็นต้น
2. การส่งเสริมการรู้หนังสือ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งทำการสอนโดยพนักงานราชการในศูนย์การเรียนรู้ทุกแห่งและด้วยความร่วมมือกับอาสาสมัคร กศน. ในการสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือของประชากรวัยแรงงานผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่ตำบลดอนมนต์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ มาดำเนินการจัดการศึกษาให้ผู้ไม่รู้หนังสือโดยใช้หลักสูตรและสื่อที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ปัญหาของผู้ไม่รู้หนังสือที่พบในพื้นที่ตำบลดอนมนต์ ไม่ได้เกิดจากการไม่เรียนหนังสือในระบบตามวัยที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการหลงลืมเนื่องจากห่างเหินการอ่านเขียนในชีวิตประจำวัน ดังนั้นแม้จะจบระดับประถมศึกษาในวัยเด็กแล้วก็สามารถทำให้กลายเป็นผู้ลืมหนังสือได้ เป้าหมายของการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชนดอนมนต์ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จะเน้นการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทักษะชีวิตด้านอื่น ๆ เพื่อทำให้ผู้เรียนได้ปรับตัวเองไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามวิถีชีวิตในชุมชน และเป็นกิจกรรมที่ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของผู้ไม่รู้หนังสือ และประชาชนทั่วไปในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งเน้นการประสานความร่วมมือกับแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่รายการวิทยุทางการศึกษา บริการสื่อเพื่อการศึกษา บริการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา มีการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
การจัดศูนย์การเรียนชุมชน
มุ่งเน้นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนชุมชน ให้เป็นฐานของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนที่มีความพร้อมจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้มีจำนวนมากครอบคลุมพื้นที่ เพื่อเป็นแม่ข่ายของศูนย์การเรียนต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งนี้โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล และภาคีเครือข่าย
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อาสาสมัครเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยเป็นทีมร่วมกับครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์
เป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน เป็นสถานที่เสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยาการ ตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน อีกทั้งยังเป็นแหล่งบริการชุมชน ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ และก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ การเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเอง โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเม็ง เป็นผู้ส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชน
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
ครูศูนย์การเรียนชุมชนดอนมนต์ มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
1. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
1.1 การประชาสัมพันธ์ระดับพื้นที่
1.2 แนะแนวการเรียนรู้ตั้งแต่ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังการเรียนรู้
1.3 การรับสมัครนักศึกษา
1.4 จัดกลุ่มนักศึกษา
- แยกระดับ (ประถม/มัธยมศึกษาตอนต้น/มัธยมศึกษาตอนปลาย )
- แยกหมวดวิชา - แยกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการมาพบกลุ่ม
2. งานธุรการ/ งานทะเบียน ในศูนย์การเรียนชุมชน
2.1 รับขึ้นทะเบียนนักศึกษา
2.2 รับลงทะเบียนนักศึกษาเป็นกลุ่ม / ระดับ
2.3 จัดทำประวัตินักศึกษาที่มาลงทะเบียน
2.4 จัดทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
2.5 จัดทำคู่มือนักศึกษา
3. จัดทำศูนย์บริการสื่อ / ประสานงานแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
3.1 จัดทำและให้บริการสื่อในศูนย์บริการสื่อ
3.2 ประสานและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแหล่งการเรียนรู้
- แหล่งวิทยาการในชุมชน ( ทั้งรัฐ/ เอกชน )
- ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- กลุ่มอาชีพ
- แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ
4. จัดกระบวนการเรียนรู้
4.1 จัดปฐมนิเทศนักศึกษา
4.2 แนะแนวการเรียนรู้
4.3 จัดกระบวนการเรียนรู้
- วิเคราะห์หลักสูตร
- วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
- วิเคราะห์การจัดกระบวนการเรียนรู้
- จัดทำแผนการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.4 วัดผลประเมินผลร่วมกันกับผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องตามที่สถานศึกษากำหนด
4.5 จัดทำผลการเรียนตามที่สถานศึกษากำหนด
5. การปฏิบัติหน้าที่ของครูศูนย์การเรียนชุมชน ในด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.1 การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม ในทุกสัปดาห์ต้องจัดให้มีการพบกลุ่มสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยให้นักเรียนนำเสนอผลงานที่ครูมอบหมายให้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีการอภิปราย วิเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้ร่วมกัน ในกรณีที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจครูต้องอธิบายและให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นและมีการทดสอบย่อยด้วย
5.2 การจัดการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครู และผู้เรียนต้องวางแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตลอดภาคร่วมกัน โดยวิเคราะห์สาระเนื้อหาวิชาออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่ 1 เนื้อหาส่วนที่ไม่ซับซ้อนและยากเกินไป และอยู่ในวิสัยที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ให้ผู้เรียนไปศึกษาเรียนรู้จากสื่อต่างๆ และแหล่งวิทยากรด้วยตนเอง แล้วจดบันทึกผลการเรียนรู้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำมาเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการพบกลุ่ม
- ส่วนที่ 2 เนื้อหาส่วนที่ค่อนข้างยาก ให้ผู้เรียนศึกษาเรียนรู้ร่วมกันในการพบกลุ่ม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา ชี้แจง และให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
- ส่วนที่ 3 เนื้อหาส่วนที่ยากมาก ในกรณีที่ครูมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาเฉพาะนั้นๆ ครูก็สามารถสอนเองได้ หากไม่เชี่ยวชาญก็ให้เรียนเชิญผู้รู้ ผู้ชำนาญการมาเป็นวิทยากรสอนเสริม
5.3 การจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน โดยมอบหมายให้นักเรียนรวมกลุ่มกันประมาณ 5 – 7 คน ไปศึกษาเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และให้ทำโครงงาน 1 โครงงานต่อ 1 หมวดวิชา โดยผู้เรียนต้องร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติ และจดจำสิ่งที่ได้ปฏิบัติเพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อดีและข้อจำกัด เพื่อการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโครงงานให้ดียิ่งขึ้น แล้วนำเสนอความก้าวหน้าของการทำโครงงานในการพบกลุ่มแต่ละครั้งเป็นระยะๆออย่างต่อเนื่อง
5.4 การทดสอบและประเมินผลการเรียนรู้จากสิ่งต่อไปนี้
- ผลงาน / ชิ้นงาน ที่ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง การนำเสนอรายงานและการร่วมอภิปรายในระหว่างการพบกลุ่ม คิดเป็นสัดส่วนคะแนน 20 %
- การทดสอบย่อย โดยมีการทดสอบย่อยทุกครั้งที่มีการพบกลุ่ม คิดเป็นสัดส่วนคะแนน 20 %
- การทำโครงงาน ประเมินตั้งแต่การเขียนโครงงาน กระบวนการจัดทำผลงาและการรายงาน คิดเป็นสัดส่วนคะแนน 20 %
- การประเมินผลปลายภาคเรียน โดยใช้แบบทดสอบที่สำนักงาน กศน.จังหวัดบุรีรัมย์จดทำขึ้น คิดเป็นสัดส่วนคะแนน 40 %
งานฝึกวิชาชีพระยะสั้น
รับผิดชอบในการส่งเสริมอาชีพในชุมชนและกลุ่มสนใจ โดยจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นตามความเหมาะสมในโอกาสต่างๆ ร่วมออกหน่วยบริการอำเภอเคลื่อนที่ เทศบาลเคลื่อนที่พบประชาชน
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลดอนมนต์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีพันธกิจในการจัดและส่งเสริมกิจกรรมการศึกษานอกระบบฯให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม โดยการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ การจัดการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนา
ทางสังคมและชุมชน ภายใต้การพัฒนาระบบบริหารจัดการตามแนวปฏิรูประบบราชการและการปฏิรูปการศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการจัดและส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้ประชาชนคนตำบลหนองแวง มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา พ้นความยากจนและเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จากนโยบายการพัฒนาคนและสังคม
เข้าชม : 247
|