ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา : ตำบลสะแก เดิมเป็นหมู่บ้านที่มี ต้นสะแกอยู่เป็นจำนวนมากต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในตำบลสะแก มีพื้นที่ทั้งหมด 45,000 ไร่
สภาพทั่วไปของตำบล
พื้นที่เป็นที่ดอนสลับกับที่ลุ่มลำน้ำ หน้าดินตื้นเขินขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้มีปัญหาด้านการประกอบอาชีพเพราะเป็นที่แห้งแล้งทำนาได้ผลผลิตไม่คุ้มทุน
อาณาเขตตำบล
ด้านเหนือ ติดเขตแม่น้ำมูล อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และเขตติดต่อกับตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ด้านตะวันออก ติดต่อกับตำบล ท่าม่วง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ และติดต่อกับตำบลทุ่งวัง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
ด้านใต้ ติดต่อกับเขตตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
ด้านตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
จำนวนประชากรในตำบล
จำนวนประชากรในเขตตำบลสะแก มีจำนวน 7,097 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,707 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวนยางพารา
อาชีพเสริม ประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว, สานผักตบชวาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1) วัด
2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
3) องค์การบริหารส่วนตำบลสะแก
4) วัดป่าศรหญ้าคา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
|
“ ปรัชญาคิดเป็น ”
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดปรัชญา“ คิดเป็น ” มาใช้ในการจัดการศึกษา
ปรัชญา “ คิดเป็น ” อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนมีจุดรวมความต้องการที่เหมือนกัน คือ ทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเรา ความรู้ทางวิชาการ สังคมและสิ่งแวดล้อมผสมกลมกลืนกันได้ก็จะมีความสุข โดยการคิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มากก็น้อย เป็นทางสายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล
กระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา “ คิดเป็น ” มีผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยครูจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ ปัญหา หรือความต้องการ มีการเรียนรู้จากสภาพปัญหาของตนเอง อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากข้อมูลจริงและตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลตนเอง วิชาการ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสามารถทำให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง ถ้ายังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ ก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง กระบวนการนี้จะยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข
“ หลักการ ”
1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล และชุมชน สังคม
2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ และสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
“ หลักการ ”
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคม ได้อย่างมีความสุข ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
“ กลุ่มเป้าหมาย ”
- ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน
“ ระดับการศึกษา ”
- ระดับประถมศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
** แต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นมีการเทียบโอนผลการเรียน **
“ โครงสร้างหลักสูตร ”
สาระการเรียนรู้
|
จำนวนหน่วยกิต
|
ประถม
|
ม.ต้น
|
ม.ปลาย
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
วิชาบังคับ
|
วิชาเลือก
|
1. ทักษะการเรียนรู้
|
5
|
|
5
|
|
5
|
|
2.ความรู้พื้นฐาน
|
12
|
|
16
|
|
20
|
|
3. การประกอบอาชีพ
|
8
|
|
8
|
|
8
|
|
4. ทักษะการดำเนินชีวิต
|
5
|
|
5
|
|
5
|
|
5.การพัฒนาสังคม
|
6
|
|
6
|
|
6
|
|
รวม
|
36
|
12
|
40
|
16
|
44
|
32
|
48 หน่วยกิต
|
56 หน่วยกิต
|
76 หน่วยกิต
|
กิจกรรม กพช.
|
100 ชั่วโมง
|
100 ชั่วโมง
|
100 ชั่วโมง
|
- รายวิชาบังคับ สำนักงาน กศน. พัฒนา ส่วนรายวิชาเลือก สำนักงาน กศน. และสถานศึกษาพัฒนาได้ตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม
- ในแต่ละระดับ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการทำโครงงานในรายวิชาเลือก อย่างน้อย 3 หน่วยกิต
- ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาเลือกในสาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่ง หรือหลายสาระการเรียนรู้ก็ได้ให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด
“ การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ”
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต
“ วิธีการจัดการเรียนรู้ ”
วิธีเรียน กศน.
1. พบกลุ่ม
2. ชั้นเรียน
3. ทำโครงงาน
4. เรียนรู้ด้วยตนเอง
5. ทางไกล
6. ตามอัธยาศัย
7. อื่นๆตามที่ต้องการ
วิธีเรียน กศน. มีวิธีเดียวแต่สามารถจัดได้หลายรูปแบบโดยสถานศึกษาและผู้เรียนร่วมกันกำหนดรูปแบบการเรียนในแต่ละรายวิชาโดยเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหา และสอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงานของผู้เรียน
“ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ”
กำหนดให้ผู้เรียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ซึ่งเกิดจากผู้เรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน
“ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ”
- กำหนดสภาพปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้ ( O : Orientation )
- การแสวงหาข้อมูลและจัดการเรียนรู้ ( N : New ways of learning )
- การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้ ( I : Implementation )
- การประเมินผล ( E : Evaluation )
การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญา “ คิดเป็น ” โดยเน้นทักษะแสวงหาความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้และสร้างองค์ความรู้สำหรับตนเอง ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
“ ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน ”
- จากหลักสูตรที่เป็นระดับ
- จากการศึกษาต่อเนื่อง
- ความรู้และประสบการณ์จากกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
- จากหลักสูตรต่างประเทศ
- จากการประเมินความรู้และประสบการณ์
“ หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน ”
- เทียบโอนผลการเรียนในทุกภาคเรียน
- เทียบโอนผลการเรียนเป็นรายวิชา
- จำนวนหน่วยกิตที่เทียบโอนได้
- ระดับประถมศึกษา ไม่เกิน 36 หน่วยกิต
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่เกิน 42 หน่วยกิต
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่เกิน 57 หน่วยกิต
“ การวัดและประเมินผลการเรียน ”
การวัดและประเมินผลรายวิชา
- สัดส่วนคะแนนระหว่างภาค : ปลายภาค 60 : 40 ค่าระดับผลการเรียน 8 ระดับ
การประเมินผลกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง / ได้คะแนนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ถือว่าผ่าน
ประเมินคุณธรรม
- ประเมินทุกภาคเรียน และใช้ผลภาคเรียนสุดท้าย / ผลการประเมินเป็น ปรับปรุง พอใช้ ดี และ ดีมาก
ประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
- เข้ารับการประเมินในภาคเรียนสุดท้าย / ไม่มีผลได้ตกกับนักเรียน
“ หลักฐานการศึกษา ”
กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
- ระเบียนแสดงผลการเรียน
- ประกาศนียบัตร
- แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
สำนักงาน กศน. กำหนดเพิ่มเติม
- เอกสารบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- แบบสรุปการประเมินผลการเรียนรายภาค
“ เกณฑ์การจบหลักสูตร ”
- ผ่านการประเมินและได้รับการตัดสินผลการเรียนทั้ง 5 สาระการเรียนรู้และได้หน่วยกิตตามที่กำหนด
- ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
- ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม
- เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
หน้าที่ความรับผิดชอบ “ครู กศน.ตำบล ”
- จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
- กระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย
- หน้าที่อื่นๆที่ได้รับมอบหมาย
เข้าชม : 323
|