[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
   กลับหน้าหลัก

ความเป็นมาของตำบลห้วยราช

                   กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้มีนโยบาย   ให้มีการจัดตั้ง กศน. ตำบลขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้   ระดับตำบลยุคใหม่ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยในการดำเนินงานโดยการผลักดันงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง  ให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชนหรือ กศน. ตำบล และได้มอบให้สำนักงาน กศน. เร่งรัดพัฒนาและเดินหน้าไปสู่ความเป็นศูนย์การเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของชุมชน เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีพลังแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุดตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างแท้จริงโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าในเดือนกันยายน 2553 จะมี กศน. ตำบลครบทั้ง 7,409 ตำบลทั่วประเทศ   เมื่อวันที่  11  ตุลาคม  2552 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดการศึกษาในสถานศึกษา  สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยราช 

                    สำนักงานสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แต่งตั้งให้ นางวรรณี ขำสนิท  ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบลห้วยราช    ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลห้วยราช มาทำหน้าที่ครู ศรช. ตั้งแต่ปี  2551 - 2552 ต่อมา

                    เมื่อวันที่  9  มกราคม  2553  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลห้วยราช ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กศน.ตำบลห้วยราช  ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ. 2551 โดยมีนางวรรณี  ขำสนิทเป็นหัวหน้า กศน.ตำบล  ซึ่งเปลี่ยนจากตำแหน่ง ครู ศรช.  มาเป็น ครู กศน.ตำบล ตั้งแต่ปี 25532557

                   ต่อมาในปี  พ.ศ.  2566  ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้  พ.ศ.  2566  ประกาศตอนที่  20  ก  ในราชกิจจานุเบกษา  ลงวันที่  18  มีนาคม  พ.ศ. 2566  มีผลบังคับใช้ในวันที่  18  พฤษภาคม  พ.ศ.  2566  และประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้  เรื่อง  กำหนดสถานที่ตั้งของศูนย์ส่งเริมการเรียนรู้อำเภอ/เขต  ลงวันที่  3  สิงหาคม  พ.ศ.  2566  ได้กำหนดสถานที่ตั้งของศูนย์ส่งเริมการเรียนรู้อำเภอห้วยราช  เลขที่  144  หมู่ที่  6  ถนนห้วยราช – บุรีรัมย์  ตำบลห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์  มีผลตั้งแต่วันที่  18  พฤษภาคม  พ.ศ.  2566  เป็นต้นไป  และประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้  เรื่อง  จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำบล  และศูนย์การเรียนรู้แขวง     ลงวันที่  15  สิงหาคม  พ.ศ.  2566  ให้ยกเลิกศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล     (กศน.ตำบล)  จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตำบลห้วยราช  หมู่ที่  5  ตำบลห้วยราช  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์  เรียกโดยย่อว่า  “ศกร.ตำบลห้วยราช”  มีผลตั้งแต่วันที่  18  พฤษภาคม  พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดบุรีรัมย์  กรมส่งเสริมเรียนรู้  กระทรวงศึกษาธิการ

                  ศูนย์การเรียนรู้ตำบลห้วยราชเป็นหน่วยงานย่อยของส่วนกลางระดับชุมชน  ได้ดำเนินงานตามกลยุทธ์  สกร. สู่การปฏิบัติซึ่งมุ่งเน้นตอบสนองโครงการ/กิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายในการสร้างสังคม/ชุมชนแห่งการเรียนรู้สำหรับประชาชนและเยาวชนนอกโรงเรียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน  การยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายแรงงาน  และการสร้างพันธมิตร/เครือข่ายการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  รวมถึงดำเนินงานตามผลผลิตของหน่วยงาน  คือการจัดการศึกษานอกระบบ และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่ง ศกร.ตำบลห้วยราช  มีภารกิจและบทบาททำหน้าที่บริหารจัดการ กำกับดูแล  ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานในพื้นที่รับผิดชอบ  จัดและให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับประชาชนให้ได้รับการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  และการให้บริการข่าวสารข้อมูลในรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมีหมู่บ้าน  10  หมู่บ้าน  เป็นศูนย์การเรียนรู้และให้บริการการศึกษาแก่ประชาชนครอบคลุมทุกพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย  10  หมู่บ้าน  โดยเน้นการประสานงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายในการจัด
                 
ตำบลห้วยราช เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์  และได้แยกตัวออกจากอำเภอบุรีรัมย์  เริ่มตั้งกิ่งอำเภอห้วยราชเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2533  เป็นกิ่งอำเภอจนถึงวันที่ 6 กันยายน 2538  จึงยกฐานะเป็นอำเภอห้วยราชตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2538  จนถึงปัจจุบัน  มีตำบลทั้งหมด  8  ตำบล  ตำบลห้วยราชเป็นตำบลหลักของอำเภอห้วยราช  และได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลห้วยราชเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช  เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2539  และได้ปรับขนาดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช  จากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลางเมื่อวันที่ 28  เมษายน  2553 พื้นเพเดิมของชาวบ้านเป็นชาวไทยที่มีภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่น  และต่อมาได้มีราษฎรอพยพมาจากท้องถิ่นอื่นและจังหวัดใกล้เคียง  ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะมีพื้นเพเดิมเป็นชาวไทยเขมร  พูดภาษาไทยเขมร  แต่ก็ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกับประชาชนส่วนใหญ่ของภาคอีสานทั่วไป                          

Ø  อาณาเขต                                                                       

                     ทิศเหนือ          ติดต่อกับ ตำบลห้วยราชา   อำเภอห้วยราช      จังหวัดบุรีรัมย์
                     ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลสนวน         อำเภอห้วยราช      จังหวัดบุรีรัมย์
                     ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลบ้านตะโก    อำเภอห้วยราช      จังหวัดบุรีรัมย์
                     ทิศตะวันตก      ติดต่อกับตำบลอิสาน         อำเภอเมืองบุรีรัมย์   จังหวัดบุรีรัมย์


 



เข้าชม : 522
 
ศูนย์การเรียนรู้ตำบลห้วยราช  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์
โทรศัพท์ 0972066737 E-mail : 1231160001@@buriram.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.04tb    Admin