ประวัติตำบล
สภาพทั่วไป
เมืองพุทไธสง เป็นแหล่งสถานที่ตั้งเมืองประวัติศาสตร์ หลักฐานสำคัญคือ มีคูเมืองเก่าที่เป็นคันคูน้ำอยู่จำนวน 2 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
1. คูบึงชั้นนอกด้านทิศเหนือประกอบไปด้วย บึงสระบัวหรือบึงใหญ่ ตั้งอยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง หนองเม็ก ตั้งอยู่เขตหมู่ 3 บ้านโพนทอง คูบึงชั้นในด้านทิศเหนือ มีบึงเจ๊กและบึงอ้อ ตั้งอยู่เขตหมู่ที่ 1 บ้านพุทไธสง ในเขตตำบลพุทไธสง รอบโนนที่ตั้งเมืองพุทไธสง
2. คูบึงชั้นนอกด้านทิศตะวันออกประกอบไปด้วย บึงมะเขือ บึงบัวขาว อยู่ติดเขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง กับเขตหมู่ 1 บ้านมะเฟือง คูบึงชั้นในด้านทิศตะวันออก มีบึงกลาง บึงสร้างนาง อยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง ตำบลพุทไธสง มีหนองน้ำชั้นนอกออกไปอีกคือหนองกระจับ หนองสรวง ในเขตหมู่ที่ 1 บ้านมะเฟือง ตำบลมะเฟือง
3. คูบึงชั้นนอกด้านทิศใต้ประกอบไปด้วย บึงฆ่าแข่ ห้วยเตย หนองบัว อยู่ติดเขตหมู่ 2 บ้านโนนหนองสรวง คูบึงชั้นในด้านทิศใต้ มีบึงสร้างนาง หนองกระทุ่มหนา อยู่เขตหมู่ 1 บ้านพุทไธสง
4. คูบึงชั้นนอกด้านทิศตะวันตก มีหนองน้ำชื่อร่องเสือเต้น กั้นเขตแดนระหว่างโรงเรียนพุทไธสงและโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์และเป็นเขตแดนระหว่างหมู่ที่ 3 บ้านโพนทองกับหมู่ที่ 4 บ้านเตย เป็นลักษณะบึงสั้น ๆ ไม่ตลอดแนว และด้านนี้ไม่มีคูบึงชั้นใน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสลับที่เนินเตี้ย ๆ พื้นที่โดยรวมลาดเอียงจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 140 – 160 เมตร ใจกลางเมืองตั้งอยู่ที่ละติจูด 15.538 องศาเหนือ ลองติจูด 103.0057 องศาตะวันออก มีห้วยเตยเป็นร่องน้ำหลักไหลมารวมที่บึงต่าง ๆ และมีร่องน้ำย่อย ๆ รับน้ำในด้านทิศเหนือซึ่งเป็นทางเกวียนคมนาคมเดิม เช่นทางเกวียนบ้านเตยไปนาโพธิ์ ทางเกวียนบ้านโพนทองเหนือหนองเม็ก ไปบ้านแวง บ้านนาโพธิ์ ทางเกวียนเหนือบ้านเตยไปหนองเม็ก ร่องน้ำจากโนนบ้านหนองบกไหลผ่านป่าโคกที่สาธารณะประโยชน์หนองหัวควายไหลลงบึงใหญ่และจากบึงใหญ่ไหลล้นไปบึงมะเขือและทุ่งนาด้านทิศตะวันออกบึงมะเขือ และบึงมะเขือบางส่วนมีทางระบายน้ำจากน้ำรวมที่บึงชั้นนอกไหลไปรวมที่ด้านบึงบัวขาวไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามคลองที่ขุดใหม่ชื่อคลองอีสานเขียวไหลลงทุ่งนาและลงสู่น้ำมูลด้านทิศใต้บ้านส้มกบ ตำบลมะเฟือง อุณหภูมิเฉลี่ยหน้าร้อน 31 องศาเซลเซียส หน้าหนาว 20 องศาเซลเซียส หน้าฝน 26 องศาเซลเซียส
โนนเมืองเป็นที่ดอน เรียกว่า โนน(เนิน) จำนวน 7 โนนดังนี้
1.โนนโรงเรียนอนุบาลพุทไธสงเดิม(โอภาสประชานุสรณ์) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งคิวรถและตลาดสดเทศบาลตำบลพุทไธสง เดิมเป็นเนินสูงได้ขุดดินออกไปประมาณระดับ 1.50 เมตรในอดีตเป็นเนินใหญ่สุดและเป็นศูนย์กลางตั้งตัวเมืองจนถึงปัจจุบัน
2.โนนอนามัยเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพุทไธสงเป็นโนนที่สูงกว่าทุกโนนที่กล่าวถึง แต่ถูกปรับเกลี่ยให้ต่ำลงเพื่อนำเอาดินมาสร้างที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ห้องสมุดประชาชนเดิม และสถานีตำรวจภูธรพุทไธสง
3.โนนโรงเรียนพุทไธสงเดิม ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอนุบาลพุทไธสง เดิมเป็นพื้นที่สูงมีน้ำล้อมรอบและใช้เป็นป่าช้าที่ฝังศพ
4.โนนบ้านโพนทอง เป็นโนนสูงกว้างใหญ่ หลังจากตั้งเมืองพุทไธสงใหม่ที่บ้านมะเฟือง มีข้าราชการจากเมืองมาตั้งบ้านขึ้นใหม่ที่โนนนี้เรียกว่าบ้านใหม่โพนทอง
5.โนนโรงเรียนตงศิริราษฎร์อนุสรณ์ เป็นโนนสูงด้านทิศตะวันตก ถูกปรับเกรดให้ต่ำลงจากเดิมราว 2 เมตร มีลักษณะดินปนหินขี้ตะกรันเหล็ก อาจเป็นแหล่งถลุงเหล็กทำเครื่องมือและอาวุธ
6.โนนหนองสรวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ ลักษณะยาวตามทิศตะวันออกไปตะวันตก เป็นที่ตั้งบ้านโนนหนองสรวงหมู่ที่ 2
7.โนนอีแก้ว เป็นโนนสูงขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้มีทุ่งนากั้นระหว่างโนนหนองสรวงด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์หม่อนไหมบุรีรัมย์สาขาพุทไธสง
๑. ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ตำบลพุทไธสง เป็นเมืองเก่าแต่โบราณตัวเมืองตั้งอยู่บนชัยภูมิที่ดีเพราะเป็นที่สูงมีคูดินและลำน้ำล้อมรอบ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีฐานะเป็นหัวเมือง มีเจ้าเมืองปกครอง
ลักษณะที่ตั้ง
ตำบลพุทไธสงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอพุทไธสง
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ บนทางหลวงแผ่นดินถนนสายนครราชสีมา - ยโสธร ห่างจากตัวอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ไปทาง ทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ เป็นระยะทางประมาณ ๖๔ กิโลเมตร และมีระยะทางถึงกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
๑. ระยะทางจากตำบลพุทไธสง ถึงกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๓๖๐ กิโลเมตร
๒. ระยะทางจากตำบลพุทไธสง ถึง จังหวัดนครราชสีมา ประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลพุทไธสง มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑๔๐ - ๑๕๐ เมตร มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำมูล และลำพังชู ทำให้เหมาะแก่การทำการเกษตร
จำนวนพื้นที่
ตำบลพุทไธสง มีพื้นที่ ๖๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๕,๖๒๕ ไร่
อาณาเขตตำบล
มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ และจังหวัด ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
การพาณิชยกรรม / การบริการ
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
สถานีบริการน้ำมัน จำนวน ๓ แห่ง
ตลาดสด จำนวน ๑ แห่ง
ร้านค้าทั่วไป จำนวน ๘๐ แห่ง
สถานประกอบการพาณิชย์
โรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๑ แห่ง
สถานธนานุบาล จำนวน ๑ แห่ง
สถานประกอบการด้านบริการ
โรงแรม /รีสอร์ท จำนวน ๕ แห่ง
ธนาคาร จำนวน ๔ แห่ง
การอุตสาหกรรม
ลักษณะอุตสาหกรรมในเขตตำบลพุทไธสง โดยส่วนใหญ่แล้วยังเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน อุสาหกรรมที่ประกอบการอยู่ในเขตตำบล ได้แก่
โรงสีข้าว จำนวน ๓๐ แห่ง
กลุ่มอาชีพชุมชน จำนวน ๑๔ แห่ง
ร้านทำขนมจีน จำนวน ๒ แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ผลิตรองเท้า จำนวน ๑ แห่ง
โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง ผลิตเสื้อผ้า จำนวน ๓ แห่ง
๒. ข้อมูลด้านประชากร
จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น ๘,๕๕๒ คน จำนวนหลังคาเรือน ๒,๘๕๓ เรือน
- แยกเป็นชาย คน
- แยกเป็นหญิง คน
- จำนวนผู้สูงอายุ ๑,๐๘๓ คน
- จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง ๖ ปี ๔๑๒ คน
- จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ๒๘๖ คน
- จำนวนผู้พิการ ๑๐ คน
จำนวนประชากรในแต่ละหมู่บ้าน
หมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร(คน)
|
จำนวนประชากรวัยแรงงาน (คน)
|
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
พุทไธสง
|
๑,๑๐๗
|
๑,๑๐๐
|
๒,๒๐๗
|
๓๖๙
|
๓๖๗
|
๗๓๖
|
โนนหนองสรวง
|
๙๔
|
๑๕๒
|
๓๓๕
|
๓๒
|
๕๑
|
๘๓
|
โพนทอง
|
๒๓๑
|
๒๖๒
|
๔๙๓
|
๗๗
|
๘๘
|
๑๖๕
|
บ้านเตย
|
๓๗๐
|
๓๖๘
|
๗๓๘
|
๑๒๔
|
๑๒๓
|
๒๔๗
|
บ้านโนนขิงไค
|
๓๔๐
|
๒๐๓
|
๕๔๓
|
๑๑๔
|
๖๘
|
๑๘๒
|
บ้านหนองบก
|
๔๓๕
|
๓๒๔
|
๗๕๙
|
๑๔๕
|
๑๑๘
|
๒๖๓
|
บ้านแดงน้อย
|
๑๔๓
|
๑๐๙
|
๒๕๒
|
๔๘
|
๓๗
|
๘๕
|
บ้านแดงใหญ่
|
๔๐๕
|
๔๙๘
|
๙๐๓
|
๑๓๕
|
๑๖๖
|
๓๐๑
|
บ้านกอก
|
๒๐๕
|
๑๗๓
|
๓๗๘
|
๖๙
|
๕๘
|
๑๒๗
|
บ้านท่างาม
|
๒๕๗
|
๔๙๗
|
๗๕๔
|
๘๖
|
๑๖๖
|
๒๕๒
|
บ้านชาติ
|
๒๔๗
|
๒๕๔
|
๕๐๑
|
๘๓
|
๘๕
|
๑๖๘
|
บ้านโนนตะคร้อ
|
๑๗๒
|
๑๔๓
|
๓๑๕
|
๕๘
|
๔๘
|
๑๐๖
|
บ้านแดงใหญ่
|
๑๐๓
|
๒๗๑
|
๓๗๔
|
๓๕
|
๙๑
|
๑๒๖
|
แหล่งที่มาข้อมูล : อบต.ตำบลพุทไธสง , เทศบาลตำบลพุทไธสง ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๕
๓. ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ
ข้อมูลด้านอาชีพ
|
จำนวน / ครัวเรือน
|
ร้อยละ
|
อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา
|
๑,๔๒๗
|
๕๐.๐๑
|
อาชีพรอง ได้แก่
๑. ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
๒. ค้าขาย
๓. อื่นๆ (รับจ้างทั่วไป)
|
๓๕๘
๕๓๕
๕๓๓
|
๑๒.๕๔
๑๘.๗๕
๑๘.๗๐
|
๔. การปกครอง
การปกครอง
ตำบลพุทไธสงมีหมู่บ้านจำนวน ๑๓ หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ ๑ บ้านพุทไธสง
หมู่ที่ ๒ บ้านโนนหนองสรวง
หมู่ที่ ๓ บ้านโพนทอง
หมู่ที่ ๔ บ้านเตย
หมู่ที่ ๕ บ้านโนนขิงไค
หมู่ที่ ๖ บ้านหนองบก
หมู่ที่ ๗ บ้านแดงน้อย
หมู่ที่ ๘ บ้านแดงใหญ่
หมู่ที่ ๙ บ้านกอก
หมู่ที่ ๑๐ บ้านท่างาม
หมู่ที่ ๑๑ บ้านชาติ
หมู่ที่ ๑๒ บ้านโนนตะคร้อ
หมู่ที่ ๑๓ บ้านแดงใหญ่
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง
นางกัลยา คินาทิพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง
นางสุภาพร เงยวิจิตร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อสมาชิก อบต.
|
๔
|
บ้านเตย
|
นายสวย ครองโสม
|
นายบุญเริด เขียวรัมย์
|
๕
|
บ้านโนนขิงไค
|
นางสมมาตร ออมไธสง
|
นางสงวน ออมไธสง
|
๖
|
บ้านหนองบก
|
นายรุ่งเรือง พรมจิตต์
|
นายประสงค์ คมกฤษณ์
|
๗
|
บ้านแดงน้อย
|
นายประมวล รอดไธสง
|
นางรุ่งนภา แหลมไธสง
|
๘
|
บ้านแดงใหญ่
|
นายบุญจันทร์ บุญไธสง
|
นายสุภาพ ปุริธัมเม
|
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อสมาชิก อบต.
|
๙
|
บ้านกอก
|
นายพิทักษ์ แหวนวิเศษ
|
|
|
นายเจริญชัย ชื่นจันทร์
|
๑๐
|
บ้านท่างาม
|
นายวีระศักดิ์ อันเจริญ
|
|
|
นายวิสุทธิ์ ชำนิไกร
|
๑๑
|
บ้านชาติ
|
นายเสริม สอนเพีย
|
|
|
นายมนตรี พิพัฒนาสกุล
|
๑๒
|
บ้านโนนตะคร้อ
|
นายวีระพล โชติช่วง
|
|
|
นายสมบัติ หนไธสง
|
๑๓
|
บ้านแดงใหญ่
|
นางอุบล แป้นไธสง
|
|
|
นายกฤษณ์ กระนันไธสง
|
เทศบาลตำบลพุทไธสง
๑. นายจีระศักดิ์ เฮงสวัสดิ์ นายกเทศบาลตำบลพุทไธสง
๒. นางสมพร เฮงสวัสดิ์ รองนายกเทศบาลตำบลพุทไธสง
๓. นายพูนทรัพย์ ทองธรรมชาติ รองนายกเทศบาลตำบลพุทไธสง
๔. นายเชาว์ เขมวีราวงศ์ ที่ปรึกษานายกเทศบาลตำบลพุทไธสง
๕. นายสันติ มากมน ประธานสภาเทศบาลตำบลพุทไธสง
๖. นายวัชรินทร์ อุนาริเน ปลัดเทศบาลตำบลพุทไธสง
รายชื่อสมาชิกเทศบาล
๑. นายอนุ กล้าหาญ
๒. นายสวัสดิ์ ตากไสง
๓. ร.ต.ต.สนอง ภายไธสง
๔. นายจรูญ ดีโพธิ์กลาง
๕. นายพรศักดิ์ พอกกล้า
๖. นางวิรยาภรณ์ วิศิษฎ์ศิลป์
๗. นายนิเวศน์ สุริยะจันทร์
๘. นายเจริญ วิศิษฎ์ศิลป์
๙. นายเจริญ วิศิษฎ์ศิลป์
๑๐. นางสาวอารีพร ชื่นชุมพล
กำนันผู้ใหญ่บ้าน
กำนันตำบลพุทไธสง ชื่อ นายประถม ณรงค์ศักดิ์
รายชื่อผู้นำหมู่บ้านตำบลพุทไธสง
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ชื่อผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน
|
เบอร์โทรศัพท์
|
๑
|
พุทไธสง
|
นายบุญเสริง เขมวีราวงศ์
|
๐๘๗-๒๔๑๙๔๐๐
|
๒
|
โนนหนองสรวง
|
นายประถม ณรงค์ศักดิ์ (กำนัน)
|
๐๘๑-๘๗๘๐๖๒๖
|
๓
|
โพนทอง
|
นางไพวัลย์ เรืองรณฤทธิ์
|
๐๘๖-๒๖๐๖๗๓๗
|
๔
|
บ้านเตย
|
นายประนม เดชโคบุตร
|
๐๘๘-๔๖๔๒๖๘๙
|
๕
|
บ้านโนนขิงไค
|
นายทองสุข เจนไธสง
|
๐๘๒-๑๓๙๑๕๐๘
|
๖
|
บ้านหนองบก
|
นายพิสิทธิ์ ตุนพอน
|
๐๘๙-๕๘๐๗๙๘๓
|
๗
|
บ้านแดงน้อย
|
นายทองอาน บุญเลี้ยง
|
๐๘๐-๑๕๘๓๒๕๙
|
๘
|
บ้านแดงใหญ่
|
นายโกศล เสไธสง
|
๐๘๕-๖๓๓๗๙๘๗
|
๙
|
บ้านกอก
|
นายวีระพล ประทาทยนอก
|
๐๘๗-๒๔๙๕๖๙๑
|
๑๐
|
บ้านท่างาม
|
นายประมวล แจบไธสง
|
๐๘๑-๗๐๘๗๑๕๒
|
๑๑
|
บ้านชาติ
|
นายวีระชัย ธาดรรัตน์
|
๐๘๔-๔๑๔๐๓๒๕
|
๑๒
|
บ้านโนนตะคร้อ
|
นางสายทอง พลคำ
|
๐๘๕-๒๑๒๘๒๘๙
|
๑๓
|
บ้านแดงใหญ่
|
นายประดิษฐ์ จันอาภาพ
|
๐๘๒-๑๓๓๘๒๐๔
|
๕. ศาสนาและวัฒนธรรม
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๕ นับถือศาสนาพุทธ มีวัดในศาสนาพุทธจำนวน ๑๐ แห่ง
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญที่ตำบลพุทไธสงจัดและส่งเสริม คือ ประเพณีวันสงกรานต์ การสรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุประเพณีบุญบั้งไฟ แห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีออกพรรษา และเทศกาลวันขึ้นปีใหม่
๖. การสาธารณสุข
มีสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลประจำอำเภอพุทไธสง เมื่อเจ็บป่วยประชาชนนิยมไปรักษาที่โรงพยาบาลอำเภอพุทไธสง โรคที่ประชาชนเจ็บป่วยบ่อย เรียงตามลำดับ
ปริมาณที่เจ็บป่วยมากไปน้อย ได้แก่
๑. โรคเบาหวาน
๒. โรคความดัน
๓. โรคไข้หวัด
๔. โรคกระเพาะ
มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๒๑๑ คน
๑. ประธาน อสม.ประจำ ตำบล ได้แก่ นายสมาน ณรงค์
๒. รองประธาน อสม.ประจำ ตำบล ได้แก่ นางทองฮวด ออมไธสง
๓. รองประธาน อสม.ประจำ ตำบล ได้แก่ นางจันทร์เพ็ญ เกิดไธสง
๗. ข้อมูลด้านการศึกษา
การศึกษาในระบบโรงเรียน
๑. โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง คือโรงเรียนพุทไธสง เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งหมด ๒,๒๓๐ คน
๒. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๓ แห่ง
๓. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
๔. ศูนย์เด็กเล็ก จำนวน ๓ แห่ง
๕. โรงเรียนเอกชน จำนวน ๒ แห่ง
๖. อื่นๆ ระบุ โรงเรียนปริยัติวัดโพนทอง
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
๑. มี ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน ๔ แห่ง
๒. มี แหล่งเรียนรู้ ๑๓ แห่ง
- บุคคล(ปราชญ์ชาวบ้าน) ๑ คน
- มุมหนังสือ ๗ แห่ง
- ห้องสมุด ๑ แห่ง
- ศูนย์ ICT - แห่ง
- ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ๑ แห่ง
๓. การส่งเสริมการอ่านหนังสือ
- ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มี ๒๐ คน
- อ่านออกเขียนได้แต่ยังไม่คล่องแคล่วดีพอ มี ๓๕ คน
- ที่อ่านหนังสือในชุมชน หรือห้องสมุดบ้านมี ๑ แห่ง
- มีสื่อเพื่ออ่าน ได้แก่
- หนังสือ ๑๕๐ เล่ม
- หนังสือพิมพ์ ๒๘ ฉบับ
- วารสารต่าง ๆ ๒๖ เล่ม
- มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน จำนวน ๑๓ คน
- จำนวนการอ่านหนังสือของคนแต่ละหมู่บ้านโดยเฉลี่ยปีละ ๑๒ เล่ม
- จำนวนโดยเฉลี่ยที่คนในแต่ละหมู่บ้านอ่านหนังสือวันละ ๒๐ นาที
๔. การพัฒนาอาชีพ มีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ ด้านการทอผ้าไหม การออกแบบลวดลายผ้าไหม
- ครูประจำกลุ่ม จำนวน ๒ คน
๖. กิจกรรมที่เด่นและเป็นแบบอย่างของ กศนตำบล
ได้แก่โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน รายละเอียดของโครงการจะมีลักษณะเด่นคือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันสอนกันเอง และติดต่อประสานงานกันระหว่างเพื่อน ๆ ในตำบลเดียวกันและตำบลใกล้เคียงกัน
๘. ความต้องการทางการศึกษานอกโรงเรียนของตำบล
๑. อาคารที่เป็นเอกเทศและมั่นคง
๒. คอมพิวเตอร์
๙. เครือข่ายงาน กศน.ในตำบล ได้แก่
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง
๒. เทศบาลตำบลพุทไธสง
๓. พัฒนาชุมชน
๔. เกษตรอำเภอพุทไธสง
๕. ปกครองอำเภอพุทไธสง
เข้าชม : 1263 |