[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

คำขวัญอำเภอละหานทราย  "หลวงปู่สุขคู่เมือง"  "ลือเลื่องพืชสวนไร่"  "มากมายไหมมัดหมี่"  " ดูดีหินหลุม"  "ลุ่มน้ำหลากสาย"  "ละหานทรายชายแดน"

 

 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
การปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ

อังคาร ที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551

การปลูกมะละกอ
มะละกอเป็นไม้ผลเขต ร้อนอายุสั้นประมาณล้มลุกลำต้นอวบน้ำสามารถ เจริญเติบโตได้ทั่วไปในทุกๆสภาพพื้นที่และจัดเป็นไม้ผลที่ให้ผลเร็ว โดยจะให้ผลครั้งแรกหลังจากปลูกไปแล้วประมาณ5-6 เดือน การติดผลค่อนข้างดก

ผลมะละกอดิบใช้ประกอบอาหารคาวได้หลายชนิดได้แก่ ส้มตำแกงส้ม เป็นต้น ผลสุกใช้รับประทาน เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและยังมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ยางมะละกอ ซึ่งมีสารปาเปนใช้เป็นเอนไซม์ย่อยโปรตีน ยังใช้เป็นยาถอนพิษ รวมทั้งใช้ประโยชน์ในโรงงานผลิตเบียร์ เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์

สภาพแวดล้อม

แม้ว่าโดยทั่วไปมะละกอจะสามารถเจริญงอกงามในทุกสภาพพื้นที่ก็ตาม ในช่วงการออกดอกติดผล มะละกอต้องการน้ำมาก แต่ก็ไม่ชอบน้ำท่วมขังเพราะทำให้มะละกอ ตายหรือเป็นโรคได้ง่าย

ดินที่เหมาะสมกับการปลูกมะละกอควรเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ได้แก่ ดินร่วนระบายน้ำได้ดี สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.6-6.4

สถานการณ์การผลิตและการตลาดมะละกอ

การผลิต ปัจจุบันการผลิตมะละกอเป็นการค้าในหลายๆ จังหวัดปี 2538 มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 153,280 ไร่ ผลผลิต 342,772 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี สระบุรี ปทุมธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ ชุมพร นครศรีธรรมราช เป็นต้น

การตลาด มะละกอที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภาย ในประเทศตลาดที่สำคัญได้แก่ ตลาดประจำจังหวัด ตลาดกลางกรุงเทพ ได้แก่ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดปากคลองตลาด ตลาดไท เป็นต้น ราคาที่เกษตรกรขายได้ ปี 2541 ราคากิโลกรัมละ 18-20 บาท

สำหรับตลาดในต่างประเทศ ปี 2540 มีการส่งออกมะละกอไป จำหน่ายในรูปผลสด 44 ตัน มูลค่า 1.18 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นมะละกอที่ใช้ผสมใน ผลไม้รวมและมะละกออบแห้ง

ต้นทุนและผลตอบแทน

ต้นทุนในการผลิตมะละกอคิดเป็นเงิน 4,500 บาท/ไร่ รายได้ 15,000 บาท/ไร่ (ต้นทุนการผลิตไม่รวมค่าแรงงานในการดำเนินการ)

พันธุ์มะละกอ



1. แขกดำสายพันธุ์ดำเนินสะดวก มะละกอต้นเตี้ยให้ผลเร็วติดผลดก ลักษณะผลเป็นทรงกระบอก ส่วนหัวคอดเรียวเข้าหาขั้วปลายผลแหลมเล็กน้อย เนื้อหนาแน่น/สีทองเข้ม กลิ่นหอม ความหวานสูง เหมาะสำหรับใช้รับประทานผลสดและผลดิบ ไม่ค่อยต้านทานโรคใบด่าง

2. แขกดำสายพันธุ์ศรีสะเกษ เป็นมะละกอแขกดำที่คัดเลือก โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ต้นเตี้ย ติดผลเร็ว ผลทรงกระบอกยาวหัวคอดเข้าหาขั้ว ส่วนปลายผลสอบเป็นมุมป้านเข้าหากัน น้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัม ผลผลิตสูงประมาณ 52 กิโลกรัม/ต้น เนื้อหนาแน่นสีแดงเข้ม ความหวานสูง 13.52 องศาบริกซ์ ถ้าการบำรุงรักษาดีจะสามารถต้านทาน โรคใบด่างได้ระดับหนึ่ง

3. แขกนวล เป็นมะละกอลักษณะต้นเตี้ย ให้ผลดกค่อนข้าง ใหญ่น้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัม ทรงผลคล้ายหยดน้ำส่วนหัวเรียวเล็กและค่อยๆ ป่องขึ้นใกล้บริเวณปลายผล แล้วสอบเข้าหากัน เนื้อสีเหลืองอมส้มความหวาน 13.44 องศาบริกซ์ เหมาะสำหรับใช้รับประทานสุกและใช้ปรุงอาหาร

4. แขกหลอด เป็นมะละกอพันธุ์ต้นเตี้ย ติดผลดก ผลทรงกระบอกขนาดเล็กยาว ส่วนหัวคอดเรียวเข้าหาขั้ว ปลายเรียวแหลมปลายอาจจะงอเล็กน้อย เนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย 1 ผล อาจจะมีเมล็ด 15-20 เมล็ด มีช่องว่างกลางผลเล็กมากคล้ายรูหลอด สีเนื้อแดงเข้ม รสชาติเหมือนแขกดำ สายพันธุ์ดั้งเดิมมาจาก อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมาเหมาะสำหรับใช้รับประทานผลสุก

5. พันธุ์ PA เนื้อแดง บริษัทสยามอุตสาหกรรม (สับปะรด) จำกัด ได้ทำการคัดพันธุ์ขึ้น เป็นมะละกอพันธุ์ต้นเตี้ย ผลโตรูปร่างทรงกระบอกยาว หัวมน และส่วนท้ายป้านกลมไม่มีร่องหยัก เนื้อหนา สีเนื้อสีแดงเข้ม ติดผลดก รสชาติหวานเหมาะสำหรับใช้รับประทานผลสุก

6. พันธุ์ PA เนื้อเหลือง เป็นมะละกอต้นเตี้ยที่คัดพันธุ์โดยบริษัทสยามอุตสาหกรรม (สับปะรด) จำกัด ผลโตทรงกระบอกยาว มีผิวไม่ค่อยเรียบอาจพบร่องหยักเล็กน้อย ส่วนหัวมน ปลายมนแหลมเล็กน้อยเนื้อผลสุกมีสีเหลือง เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง โดยผสมในผลไม้รวม

7. พันธุ์โกโก้ก้านดำ เป็นมะละกอต้นเตี้ย ก้านใบยาวสีม่วงแดง มีดอกตัวผู้มากและดอกกะเทยน้อย ผลทรงกระบอกยาวมีร่องหยักเล็กน้อย ส่วนหัวขั้วป้านมน ส่วนใกล้ปลายผลป่องออกใหญ่ที่สุด ปลายสุดของผลเรียวแหลม เนื้อหนา ความหวานต่ำเหมาะสำหรับการ บริโภคผลดิบในการประกอบอาหาร

8. พันธุ์ปากช่อง 1 เป็นมะละกอพันธุ์ต้นเตี้ย ซึ่งสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์ซันไรท์ของไต้หวัน ดอกตัวผู้น้อย ดอกกะเทยมาก ติดผลดกลักษณะผลเป็นทรงกระบอกสั้น ส่วนหัวมนเล็กกว่าส่วนปลาย ผลป่องและลาดมนเข้าหาจุดปลายสุดของผล เนื้อหนาสีแดงเข้ม เปอร์เซ็นต์ความหวานสูงถึง 12-14 องศาบริกซ์ ค่อนข้างต้นทานโรคใบด่าง

9. พันธุ์ซันไรท์ สายพันธุ์ของบริษัทสยามอุตสาหกรรม (สับปะรด) จำกัด เป็นผลเล็ก ติดผลิตทรงผลเป็นทรงกระบอกสั้นส่วนหัวมนส่วนใกล้ปลายผลป่องออก และมนกลม เนื้อหนาแข็ง ความหวานสูงสามารถขนส่งไปได้ไกลๆ โดยไม่บอบช้ำ เนื้อผลแดงอมส้ม เหมาะสำหรับรับประทานผลสุก มีความเหมาะสมสำหรับผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ

10. พันธุ์ท่าพระ 1,2 และ 3 ซึ่งสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นผู้ผสมขึ้น เป็นมะละกอพันธุ์แขกดำ กับพันธุ์ฟอริดา ทอเลแรนท์ เป็นพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างให้ผลผลิตดี สีเนื้อ -เมื่อสุกรสชาติและขนาดเมล็ดแตกต่างกัน ดังนี้

10.1 สายพันธุ์ท่าพระ 1 เนื้อสีเหลืองส้ม หรือแดง รสชาติหวานหอม เมล็ดค่อนข้างเล็ก

10.2 สายพันธุ์ท่าพระ 2 เนื้อสีเหลือง รสชาติหวานหอม เมล็ดอ้วนป้อมโตกว่าสายพันธุ์ท่าพระ 1 และท่าพระ 3

10.3 สายพันธุ์ท่าพระ 3 เนื้อสีแดงอมส้ม รสชาติหวานหอมกว่าท่าพระ 1 และ 2 เมล็ดโตกว่าสายพันธุ์ท่าพระ 1 และค่อนข้างเรียว

 


การขยายพันธุ์

มะละกอสามารถขยายพันธุ์ได้ 3 วิธี

1. โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งจะทำให้ได้ต้นกล้าที่มีลักษระต่างๆ กันเช่น ต้นที่ให้ดอกตัวผู้ ต้นที่ให้ดอกตัวเมีย และต้นที่ให้ดอกกะเทยในการเพาะปลูกปัจจุบัน เกษตรกรมักนิยมหยอดเมล็ดลงหลุม 3-5 เมล็ดแล้วค่อยคัดไว้ 3 ต้น เลี้ยงไว้จนเริ่มออก แล้วจึงคัดไว้เฉพาะ ต้นที่ให้ดอกกะเทย ซึ่งมีลักษณะเนื้อหนา น้ำหนักดีเป็นที่ต้องการของตลาด

2. โดยวิธีเสียบยอด แบบเคล็ฟท์ หรือการเสียบแบบเข้าลิ่ม วิธีนี้เป็นวิธีการค่อนข้างใหม่ แต่ก็ทำให้สามารถได้ต้นมะละกอใหม่ที่มีลักษณะเป็นดอกกระเทยตามที่ ต้องการขณะนี้ได้มีการทำกันในต่างประเทศขั้นตอนดังนี้

2.1 เพาะต้นกล้ามะละกอพันธุ์พื้นเมืองที่ต้านทานโรคโคนเน่าและทนต่อโรคใบด่าง เมื่อต้นกล้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 นิ้ว (ขนาดให้สัมพันธุ์กับยอดพันธุ์ดี) นำมาตัดยอดเฉียงลงกลางไส้ทั้ง 2 ข้างเป็นลักษณะร่องตัววี (V) แล้วเฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มขนาดพอเหมาะ กับรอยแผลบนยอดพันธุ์พื้นเมืองที่เตรียมไว้แล้วนำยอดพันธุ์ดีมาเลี้ยงและ พันแผลด้วยพลาสติกและเข้าตู้อบรักษาความชิ้นหรือ คลุมด้วยถุงพลาสติก

2.2 เมื่อยอดพันธุ์ดีและต้นตอติดเข้าด้วยกัน แลรอยเชื่อม ระหว่างแผลแข็งแรงจึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป

3.การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในต่างประเทศที่มีการผลิตเป็นการค้า นิยมใช้วิธีนี้ เพราะสามารถ ผลิตต้นกล้าที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่พันธุ์ดีตาม ที่ต้องการโดยไม่ต้องคัดเลือกต้นตัวเมีย และต้นตัวผู้ทิ้ง อีกทั้งสามารถทำการผลิตต้นกล้ามะละกอ ให้ได้แต่ต้นที่ให้ผลกะเทยเท่านั้น


การเตรียมปลูกมะละกอ

1. การเตรียมแปลงปลูก
เนื่องจากการปลูกมะละกอสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่อง ในพื้นที่ราบลุ่มและแบบไม่ยกร่องในที่ดอน โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1.1 การเตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องในที่ราบลุ่ม ขนาดของหลังร่อง ซึ่งจะกว้าง 4 หรือ 6 เมตร ความกว้างร่องน้ำ 1.50 เมตร ลึกประมาณ 1.50 เมตร หลังยกร่องแล้วควรตากดินให้แห้งสนิท (ดินสุก) แล้วจึงทำการพลิกหน้าดิน และย่อยหน้าดินไปเลยในเวลา เดียวกัน ซึ่งอาจจะใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินและปุ๋ยคอก ผสมคลุกเคล้าอยู่ในดินที่ย่อยเลย

1.2 การปลูกมะละกอในที่ดอน ควรทำการไถพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ปรับพื้นที่อีกทั้งทำให้ดินร่วนซุย ขณะทำการไถ ควรทำการยกร่องแบบหลังเต่าสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร กว้าง 1.50-2.00 เมตรและร่องระบายน้ำหลังเต่ากว้าง 1-2 เมตร

2. การกำหนดระยะปลูก
ระยะปลูก 4x3 เมตร 3x3 หรือ 2.50x3 เมตรหลังเลือก ระยะปลูกเหมาะสมกับแปลงปลูกแล้ว ใช้เชือกขึงกำหนดระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว แล้วปักไม้เป็นจุดๆ เอาไว้

3. การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกส่วนใหญ่มีขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 50x50x50 เซนติเมตรขณะ ขุดหลุมให้แยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่งหลัง จากนั้นผสมปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัม ร๊อคฟอสเฟต 100 กรัม และดินหน้า แล้วกลบลงในหลุมให้เต็ม

4. กำหนดระยะปลูก
ที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งแล้วปักไม้ไผ่รวกยาว 1 เมตร ในหลุม เพื่อบอกตำแหน่งระยะปลูก

5. การปลูก การปลูกมะละกอสามารถปลูกได้ 2 วิธี

5.1 ปลูกจากเมล็ดโดยตรง วิธีนี้ โดยการคัดเลือกมะละกอที่แข็งแรง ไม่ลีบ คลุกยาฆ่าแมลง แล้วนำไปหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด หลังมะละกองอกเป็นต้นกล้าแล้ว เลี้ยงจนได้ต้นประมาณ 3 ต้น และเมื่อต้นมะละกอออกดอกแล้ว ก็จะเก็บต้นที่ให้ดอกกะเทยไว้เพียงต้นเดียว ต้นอื่นๆ ก็ตัดทิ้ง

5.2 การปลูกด้วยต้นกล้า วิธีนี้จะต้องเตรียมต้นกล้าให้โตพร้อมที่จะปลูก จึงนำต้นกล้าวางลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วกรีดถุงพลาสติกที่ใส่ต้นกล้ามะละกอ จากก้นถุงขึ้นมายังปากถุงเป็น 2 แนว ตรงข้ามกันแล้วดึงถุงพลาสติกออก และกลบดินให้เต็มจนพูนเป็น โคกหลังจากนั้นปักไม้ผูกเชือกยึดต้นกันลมโยก และทำร่มเงา เสร็จแล้วรีบ รดน้ำตามทันทีให้ชุ่ม หากทิ้งไว้อาจทำให้ต้นมะละกอเฉาได้

การปฏิบัติดูแลรักษา

เนื่องจากมะละกอเป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำและให้ผลผลิตเร็วอีกทั้งติดผลดกมาก ดังนั้นในการผลิตมะละกอให้มีคุณภาพดีจึงต้องดูแลเอา ใจใส่อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงจะทำให้การผลิตมะละกอประสบความสำเร็จ โดยต้องปฏิบัติดูแลรักษาดังนี้

1. การให้น้ำ หลังจากปลูกมะละกอไปแล้วควรดูแลเรื่อง การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวันและค่อยห่างขึ้นประมาณ 3-5 วัน/ครั้งหลังจากที่มะละกอตั้งตัวได้แล้ว วิธีการให้น้ำย่อมแตก ต่างกันไปตามสภาพพื้นที่และวิธีการปลูก แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้

1.1การให้น้ำด้วยเรือพ่นน้ำ วิธีการนี้เหมาะสำหรับการให้น้ำใน ร่องสวนในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขณะที่ให้น้ำต้องคำนึงถึงปริมาณ ที่ให้ ความแรงของน้ำจากเครื่องปั๊มน้ำด้วย ซึ่งถ้าให้น้ำมากและ แรงเกินไปก็จะทำให้เกิดสภาพชะล้างปุ๋ยและ อินทรียวัตถุออกไปจากหน้าดินได้

1.2การให้น้ำแบบสายยาง ส่วนมากจะใช้กับแปลง ปลูกมะละกอที่เป็นสภาพพื้นที่ดอน ขนาดของแปลงปลูก ไม้ใหญ่มากเกินไปการให้น้ำแบบนี้จะต้องม ีเครื่องสูบน้ำแบบเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้ มีการวางท่อส่งน้ำหลักและมีประตูปิดเปิดน้ำ เป็นระยะตามตำแหน่งที่ต้องการจะให้น้ำ

1.3การให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงฝอยมินิสปริงเกอร์ เป็นการให้น้ำที่ค่อนข้างประหยัดน้ำ ปริมาณน้ำสม่ำเสมอ อีกทั้งสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีไปกับน้ำได้ ลดการชะล้างของหน้าดิน สะดวกประหยัดเวลาและแรงงาน การให้น้ำแบบนี้มีความเหมาะสม กับการผลิตมะละกอแปลงใหญ่และต้องลงทุนค่อนข้างสูง

การกำจัดวัชพืช

วัชพืชเป็นพืชที่ขึ้นในแปลงปลูกมะละกอ นอกจากจะเป็นที่อาศัย ของโรคและแมลงแล้ว ยังแย่งอาหารจากดินบริเวณโคนต้นมะละกอแล้วยังเป็นอุปสรรค ในการปฏิบัติงานของเกษตรกรอีกด้วย การกำจัดสามารถจำแนกออกได้ 3 วิธีคือ

1.การกำจัดวัชพืชโดยวิธีกล เป็นการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคนโดยการถอน ดาย หรือถาก

2.การกำจัดวัชพืชโดยการปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่พืชผัก พริก กะเพรา โหระพา แตง และพืชตระxxxลถั่วต่างๆ ซึ่งนอกจากจะตัดโอกาสให้วัชพืชงอกและเจริญเติบโตได้แล้ว ยังช่วงให้มะละกอได้รับปุ๋ยและน้ำเพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชหมุนเวียน ก็ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรก่อนที่มะละกอเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ย

1.ปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นปุ๋ยที่พืชนำไปใช้ได้ช้า และมีคุณสมบัติทำสภาพดินดี ควรใส่ปุ๋ยคอกทุกปี ๆ ละอย่างน้อย 1 ครั้งๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/ต้น การย่อยสลายหมดแล้ว (ซึ่งปุ๋ยต้องไม่มีความร้อนอยู่)

2.ปุ๋ยเคมี

2.1สำหรับต้นกล้าที่ย้ายมาปลูกใหม่ควรใช้ปุ๋ยสูตร 21-21-21 ที่มีธาตุรองพ่นทุกๆ 14 วัน อัตรา 10 กรัม

2.2หลังปลูกแล้ว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตราต้นละ 50 กรัม ทุกๆ เดือน จนถึงเดือนที่ 3 จึงเพิ่มเป็น 100 กรัม/ต้น ทุกเดือน

2.3เมื่อมะละกอติดผลแล้วควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัม ผสมกับยูเรียอัตรา 50 กรัม/ต้น ในการใส่ควรพรวนดินตื้นๆ หลังหว่านปุ๋ยแล้วจึงกลบดินเพื่อไม่ให้ปุ๋ยถูกชะล้าง

การคัดเลือกต้นมะละกอเพื่อการผลิตทางการค้า

หลังจากปลูกมะละกอไปได้ประมาณ 90-110 วัน มะละกอก็จะ เริ่มออกดอกชุดแรกให้เห็นจากต้นมะละกอ ประเภทต่างๆ ดังนี้

1.ต้นตัวผู้ เป็นต้นที่ให้ดอกตัวผู้ทั้งต้น โดยช่อดอกที่เกิดจากมะละกอต้นตัว ผู้นี้จะมีช่อดอกยาวมาก ตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร ที่ปลายมีอกเป็นกลุ่มขนาดเล็กๆ แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในมีเกสรตัวผู้

2.ต้นตัวเมีย เป็นต้นที่ดอกที่มีขนาดโต ทรางป้อมมีกลีบดอกหุ้มอยู่ 5 กลีบ แต่ละกลีบแยกจากกัน ขณะดอกบานจะเห็นรังไข่กลมป้อมขนาดเล็กได้ชัด ไม่มีเกสรตัวผู้ อาจพบทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกเป็นช่อก็ได้ เมื่อติดผลก็จะให้ผลทรงกลมเนื้อผลบาง มีช่องว่างในผลมาก จึงไม่เป็นที่นิยมของท้องตลาด

3.ต้นสมบูรณ์เพศ หรือต้นกะเทย จะมีดอกสมบูรณ์เพศติดอยู่บนดอกเป็นกลุ่มลักษณะ เป็นทรงกระบอกมีกลีบหุ้มอยู่ 5 กลีบ ภายในมีรังไข่ยาวทรงกระบอก และมีเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์จำแนกออกได้ 3 ชนิด

3.1ดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้ปกติจะให้ผลทรงกระบอกสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด

3.2ดอกสมบูรณ์เพศที่มีเกสรตัวผู้อยู่ติดกับรังไข่ก็จะให้ผลทรงบิดเบี้ยว

3.3ดอกสมบูรณ์เพศที่ให้ผลเป็นพูลึก ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

การปลิดผล

ปกติแล้วมะละกอเป็นไม้ผลที่ติดผลค่อนข้างดก เพื่อให้ผลิตมะละกอมีคุณภาพ และช่วยต้นมะละกอมีอายุยืนยาวและป้องกันการโค่นล้ม จึงจำเป็นต้องมีการปลิดผลมะละกอที่ติดผลกันมากจนแน่นออกเสียบ้าง เช่น ผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยว และผลที่เกิดจากดอกแขนงออกการปลิดผลออกจะช่วยให้ผลที่อยู่บนต้น มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีทำให้ต้นมะละกอไม่ทรุดโทรม จากการติดผลมากเกินไป การปลิดผลนั้นสามารถนำผลส่งจำหน่ายได้

การเก็บเกี่ยว

ในการผลิตมะละกอเป็นการค้านั้น มะละกอที่ตลาดต้องการ มีอยู่ 2 อย่างคือ

1.มะละกอดิบ เป็นการเก็บเกี่ยวมะละกอผลอ่อนผลขนาดเล็กอายุ 3-4 เดือน หลังติดผล น้ำหนักผลประมาณ 300-500 กรัม ซึ่งการเก็บเกี่ยวจะเก็บผลดิบหมดทั้งชุดเลย หรือจะเลือกเก็บผลอ่อนบางส่วนและส่วนที่เหลือเก็บไว้ จำหน่ายผลสุกต่อไป

2.มะละกอสุก สำหรับการเก็บมะละกอสุกจำหน่ายนั้น โดยจะเลือกเก็บมะละกอที่เริ่มสุกและมีผิวสีเหลืองส้มบนผลประมาณ 5%

วิธีการเก็บเกี่ยว

ควรใช้กรรไกรหรือมีดตัดขั้วผลให้ยาวชิดลำต้นแล้วจึงมาทำการตัดขั้วผล ที่ยาวออกให้สั้นลงเหลือไว้เพียงประมาณ 1 นิ้ว ไม่ควรบิดผลขณะเก็บเกี่ยวเพราะอาจทำให้ขั้วช้ำซึ่งอาจทำให้เชื้อ ราเข้าทำลายมะละกอโดยผ่านทางขั้วผลที่ช้ำได้

การจัดการผลมะละกอหลังการเก็บเกี่ยว

1.นำมะละกอที่เก็บมาจากต้นแล้วใส่ภาชนะเป็นเข่งพลาสติกที่กรุด้วยกระสอบพลาสติก กระสอบปุ๋ย เพื่อลำเลียงมะละกอมาเก็บในโรงเรือนหรือที่ร่ม

2.ทำการคัดคุณภาพและขนาดผลมะละกอ

มะละกอที่เก็บมามีผลที่ถูกโรคแมลงทำลายเสียหาย ผลที่ผิดปกติให้คัดออก ขณะเดียวกันทำการคัดขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ไปในเวลาเดียวกันเลย

3.ทำความสะอาดผลมะละกอ

4.เขียนป้ายบอก ขนาดผล น้ำหนักผลรวม ชื่อสวน

การบรรจุxxxบห่อ

-ห่อผลมะละกอด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ แล้วนำแต่ละผลลง ตะกร้าพลาสติกที่กรุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ การห่อผลมะละกอช่วยให้ผิวมะละกอไม่บอบช้ำที่เกิดจากการ เสียดสีกันขณะทำการขนส่งได้

โรคและแมลงศัตรูมะละกอ

แมลงศัตรูมะละกอส่วนใหญ่เป็นแมลงประเภทปากดูด

1.เพลี้ยไฟ เป็นแมลงตัวขนาดเล็กมาก รูปร่างคล้ายเข็ม สีน้ำตาลเข้ม เข้าทำลายช่วงระยะดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยง ซึ่งมะละกอที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย จะทำให้ผิดของ ผลมีลักษณะเป็นขี้ลากสีน้ำตาลหากทำการทำลายรุนแรงทำให้ ผลแคระแกร็นได้

การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ไดเมโธเอท หรือ โมโนโครโตฟอส พ่นทุกๆ 5-7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

2.ไรแดง มักจะเข้าทำลายที่ส่วนของผิวใบ ทำให้ใบมีสีซีดเป็นฝ้าด่าง เด็ดใบลงมาดูจะเห็นตัวไรสีแดงคล้ำกระจายอยู่ทั่วไปบนใบมักระบาดในช่วงแล้ง แต่อย่างไรก็ตามมีแมลงศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายไรแดง ได้แก่ ด้วงเต่าลาย

การป้องกันกำจัด

1.เด็ดใบที่ถูกไรแดงทำลายนำไปเผาทิ้ง

2.ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดไร พวกไดโคฟอล (เคลเทน) อัตรา 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง

3.เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดลำตัวจะมีขนและขุยแห้งสีขาวเคลื่อนที่ได้อย่างช้า โดยส่วนใหญ่จะพบมดดำอยู่บริเวณใกล้เคียงกันที่จะคอยคาบนำเอา เพลี้ยแป้งไปปล่อยและมดดำจะดูดกินน้ำหวานที่เพลี้ยแป้งถ่ายมูลออกมา การทำลายจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบ ผล และลำต้น รวมไปถึงยอดอ่อน ทำให้ผลผิดปกติ ลำต้นและยอดแคระแกร็น

การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยอโซดริน 50% SC อัตราส่วน 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่นทุกๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง

4.เพลี้ยหอย เป็นแมลงประเภทปากดูด ลำตัวมีลักษณะเป็นรูปไข่ยาวรี ส่วนหลังนูน เหมือนกระดองเต่า มีไขปกคลุม ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ พบระบาดในมะละกอที่มีอายุมากที่ให้ผลแล้ว ในช่วงฤดูหนาว การทำลายได้ทั้งส่วน ลำต้น ใบ และผล ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ

การป้องกันกำจัด ควรพ่นด้วยสารเคมีอโซดริน 60% WSC อัตราส่วน 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อมะละกออายุ 6 เดือนพ่นทั่วทั้งต้น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน

โรคมะละกอ

1.โรใบด่าง ซึ่งมีไวรัสเป็นเชื้อสาเหตุ โดยผ่านทางแมลงพาหะชนิดปากดูดได้ เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยฝ้าย เพลี้ยยาสูบ แต่เชื้อไวรัสไม่สามารถถ่ายทอดไปยังเมล็ดพันธุ์

-การทำลาย จะแสดงอาการที่ใบมีสีเหลืองโปร่งแสงและมีอาการเขียวด่าง และเมื่ออาการโรครุนแรงขึ้นใบจะหงิก พื้นที่ใบจะแคบเหลือเพียงเส้นกลางใบ ที่ก้านใบ ลำต้น ปรากฏรอยช้ำเป็นขีด จุดหรือวง สำหรับที่ผลจะมีการเป็นจุดรูปวงแหวน อีกทั้งผลบิดเบี้ยวขนาดเล็ก เนื้อกระด้าง เมื่อสุกมีรสขม การทำลายในมะละกอจะทำให้ผลมะละกอ แคระแกร็น และตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด

1.ควรป้องกันกำจัดแมลงพาหะ เพลี้ยอ่อนอย่างเหมาะสมโดยใช้สารเคมีมาลาไธออน 57% EC อัตราส่วน 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน/ครั้ง

2.ตัดต้นที่เป็นโรคทำลายทันที

3.ในแปลงปลูกที่มีอายุเกิน 2 ปี หรือมีการระบาดในแปลงปลูกรุนแรง ให้ตัดทั้งให้มดแล้วทิ้ง พิ้นที่ให้ว่างประมาณ 3 เดือน แล้วจึงปลูกใหม่

4.ควรดูแลให้มะละกอแข็งแรง ไม่ควรให้ผลมะละกอดกเกินไป ควรดูแลเรื่องน้ำและปุ๋ยให้ถูกต้อง และเหมาะสม

5.ใช้มะละกอสายพันธุ์ที่ต้านทานโรค เช่น พันธุ์ท่าพระ 1,2 และ 3 หรือ ปากช่อง 1


2.โรคโคนเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า
การเกิดโรคจะพบในช่วงที่ฝนตกชุก น้ำท่วมขัง

-การทำลาย จะพบยางไหล และเน่า ระดับดินทำให้เนื้อส่วนนั้นเป็นสีน้ำตาล หรือดำ และฉ่ำน้ำ และแผลจะยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาใบก็จะเxxx่ยว ยืนตายหรือล้มตายได้ เนื้อเยื่อภายในลำต้นเน่าและ

การป้องกันกำจัด

1.ควรจัดการเรื่องการระบายน้ำออกจากแปลงปลูกอย่าให้ท่วมขัง

2.บริเวณรอบโคนต้นไม่ควรมีวัสดุอื่นๆ เช่น ใบมะละกอหรือเศษหญ้าทับ หมักหมมกันจนอับชื้น ต้องเขี่ยออกให้ดินบริเวณโคนต้นแห้งบ้าง

3.เมื่อพบอาการยางไหลบริเวณโคนให้ทาด้วยปูนแดง

4.ราดโคนด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เมตาแลคซีล (ริโดมิล) 20-40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

5.กรณีพบระบาดในต้นเล็กให้ถอนทำลายทิ้งแล้วราดด้วยสารเคมีเมตาแลคซีล

3.โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคที่เกิดจากการทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง ลักษณะอาการที่พบ

-มักจะพบที่ใบแก่ และผลแก่เริ่มสุก โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจัดสีเหลืองๆ ตรงกลางจุดจะเป็นแผลและแห้งตาย แผลจะยุขตัวลงเล็กน้อย ปากแผลจะขยายกว้างเป็นวงๆ และบางครั้งอาจพบเมือกสีส้ม

การป้องกันกำจัด กรณีพบการระบาด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แมนโคเซบ หรือแคบแทน 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือไดเทนเอ็ม 45 อัตรา 4 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 5 ลิตร พ่นทุกๆ 7 วัน



เข้าชม : 11791

ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      การเลี้ยงไก่ไข่ 6 / ก.ค. / 2555
      การปลูกมะเขือ 20 / เม.ย. / 2551
      การปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำ 12 / ก.พ. / 2551
      ตามล่าหาไฟล์ .dll ที่หายไป 3 / ก.พ. / 2551
      เมื่อท่านมีผลงานของตนเอง 31 / ม.ค. / 2551