[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

 

 

 

  

ทดสอบหมวดหมู่
ความรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพ

พุธ ที่ 8 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2558


                ความหมายของปุ๋ย กรมวิชาการเกษตร (อ้างใน กศน. บ้านแพรก) ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีวัตถุประสงค์จะให้ธาตุอาหารเพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการ

                ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พุทธศักราช 2518 (อ้างใน กศน. บ้านแพรก) ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช

               

ประเภทของปุ๋ย

1.       ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์

2.       ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากอินทรียวัตถุ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธี ทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือ วิธีการอื่น ๆ แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยชีวภาพ

3.       ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์

                ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารในพืช ราคาถูก

               

                คุณสมบัติและประโยชน์ของจุลินทรีย์          

                E.M. (อี เอ็ม) คืออะไร (กศน.บ้านแพรก)

                E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสมดุลของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งค้นพบโดยศาสตราจารย์ ดร. เทรโอะ ชิงะ (Terou Higa) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น

               

                ลักษณะโดยทั่วไปของ E.M.

                เป็นของเหลวสีน้ำตาล กลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (ซึ่งเป็นผลจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์  ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อ   ต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถนำไปเพาะขยายได้ด้วยตนเอง

                ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป

                ด้านการเกษตร

1.             ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ

2.             ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ

3.             ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และอากาศผ่านได้ดี

4.             ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้เป็นอาหารพืช สามารถดูดซึมได้ดี

5.             ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้พืชให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีขึ้น

6.             ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ

7.             ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ไก่ และสุกร

8.             ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์ม

9.             ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน

10.      ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง

 

ด้านการประมง

1.             ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

2.             ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำที่เป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ และสัตว์น้ำ

3.             ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในสัตว์น้ำ

4.             ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ

 

ด้านสิ่งแวดล้อม

1.             ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้

2.             ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน หรือแหล่งน้ำเสีย

3.             ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะ

 

การเก็บรักษาจุลินทรีย์

สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือนในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46.50° C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในเวลาที่กำหนด

 

 

ที่มา : การทำปุ๋ยชีวภาพ www.nfe.go.th/13/banprak/culture/cu102.html

สล็อตเว็บตรง

เข้าชม : 302


ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      ความรู้เรื่องปุ๋ยชีวภาพ 8 / ก.ค. / 2558
      หลักสูตรวิชาเกษตรธรรมชาติ 8 / ก.ค. / 2558
      กศน.ตำบลหูทำนบนำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการค่ายภาษาอังกฤษ-จีน สู่อาเซียน 12 / มี.ค. / 2558
      กศน.ตำบลไทยเจริญ 28 / มิ.ย. / 2556
      ศรช.บ้านสินพัฒนา 21 / มิ.ย. / 2556


 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปะคำ
ถนนสนิทพัฒนา  ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  โทรศัพท์ 0-4464-6125 , 081-879-9113 โทรสาร  0-4464-6125 
 sarawut_sop@hotmail.com  prakham@buriram.nfe.go.th
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.03